เดินทางข้ามประเทศ

เดินทางข้ามประเทศ อีกความเหลื่อมล้ำยุคโควิด

เดินทางข้ามประเทศ กำลังเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นในยุคโควิด-19 เมื่อมีการนำมาใช้เป็นเครื่องมือกีดกันเดินทางเข้าประเทศจากประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่คนของตัวเองเดินทางได้อิสระเสรี

ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก ประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปและสหรัฐ เผชิญกับแรงดดันจากคลื่นผู้อพยพจากประเทศอื่นเข้าไปทำมาหากินในประเทศ

โดยเฉพาะผู้อพยพจากประเทศด้วยพัฒนา ที่เผชิญกับความอดอยากและภัยสงคราม รวมถึงความขัดแย้งในประเทศ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่เกิดขึ้น

แต่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลับทำให้ประเทศพัฒนาแล้ว ใช้เป็นข้ออ้างการสั่งห้ามเข้าประเทศอย่าง “ชอบธรรม” ขณะที่คนจากประเทศพัฒนาแล้วเดินทางได้อย่างอิสระ และประเทศด้อยพัฒนากลับไม่มีวัคซีนเพียงพอในการป้องกันโควิด-19

ผลการศึกษาล่าสุดจากการจัดอันดับ Henley Passport Index แสดงให้เห็นผลกระทบที่ข้อจำกัดด้านการเดินทางเข้าประเทศตลอดช่วง 18 เดือนที่ผ่านมาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เสรีภาพการเดินทางต่างกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งปรากฏให้เห็นความแตกต่างเด่นชัดที่สุดในรอบ 16 ปีที่จัดอันดับนี้

ผู้ถือหนังสือเดินทางอย่างญี่ปุ่นและสิงคโปร์ เดินทางแบบไม่ต้องใช้วีซ่า ได้มากกว่าอันดับสุดท้ายอย่างอัฟกานิสถานถึง 166 แห่ง ซึ่งผู้ถือหนังสือเดินทางของอัฟกานิสถานเดินทางแบบไม่ต้องขอวีซ่าล่วงหน้าได้เพียง 26 แห่ง

การจัดอันดับดังกล่าวมีขึ้นโดยอิงข้อมูลจากสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association หรือ IATA) เพื่อจัดอันดับหนังสือเดินทางทั่วโลกตามจำนวนจุดหมายปลายทางที่ผู้ถือหนังสือเดินทางนั้นเดินทางไปได้โดยไม่ต้องขอวีซ่ามาก่อน

ผลการจัดอันดับชี้ให้เห็นว่า ประเทศในโลกพัฒนาแล้วที่มีหนังสือเดินทางอยู่ในอันดับสูง ๆ ได้บังคับใช้กฎข้อบังคับที่เข้มงวดเป็นอันดับต้น ๆ กับผู้เดินทางเข้าประเทศเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ขณะเดียวกัน อีกหลาย ๆ ประเทศในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่มีหนังสือเดินทางอยู่ในอันดับต่ำกว่า ได้ผ่อนปรนมาตรการคุมพรมแดนแต่อีกฝั่งหนึ่งไม่ยอมเปิดพรมแดนด้วย

สิ่งนี้ก่อให้เกิดความแตกต่างด้านเสรีภาพในการเดินทางที่เห็นชัดขึ้นเรื่อย ๆ แม้กับนักเดินทางที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วจากประเทศที่หนังสือเดินทางอยู่ในอันดับล่าง ๆ ที่ยังคงถูกกีดกันจากประเทศอื่น ๆ

ผลการวิจัยและวิเคราะห์ โดยบริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนเพื่อขอสัญชาติและถิ่นที่อยู่ อย่าง Henley & Partners บ่งชี้ว่า ความแตกต่างที่ว่านี้จะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากกฎข้อบังคับเพื่อสกัดการแพร่ระบาดได้ฝังลึกยิ่งขึ้น และทำให้ความแตกต่างในการเดินทางระหว่างเศรษฐกิจพัฒนาแล้วกับเศรษฐกิจกำลังพัฒนานั้นเด่นชัดขึ้นอีก

ญี่ปุ่น ซึ่งมีหนังสือเดินทางอยู่ในอันดับหนึ่งร่วมกับสิงคโปร์ จากการที่เข้าประเทศและดินแดนต่าง ๆ ได้มากถึง 192 แห่งแบบไม่ต้องขอวีซ่า (visa-free) หรือ ขอรับการตรวจลงตราที่ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (visa-on-arrival) นั้น ห้ามพลเมืองต่างชาติเข้าประเทศแทบจะทั้งหมด

ส่วนเยอรมนีซึ่งอยู่ในอันดับสองร่วมกับเกาหลีใต้เดินทางแบบไม่ต้องขอวีซ่าได้ 190 แห่ง โดยทั้งสองประเทศนี้ห้ามไม่ให้พลเมืองจากเกือบ 100 ประเทศเดินทางเข้า

เมื่อมองที่อันดับท้าย ๆ ของกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา อียิปต์ซึ่งอยู่อันดับที่ 97 ไม่มีการใช้ข้อจำกัดด้านการเดินทาง ทว่าพลเมืองอียิปต์เดินทางโดยไม่ต้องขอวีซ่าล่วงหน้าได้เพียง 51 แห่งทั่วโลก

ในทำนองเดียวกัน อันดับที่ 77 อย่างเคนยา ไม่ได้มีคำสั่งห้ามเดินทาง แต่ผู้ถือพาสปอร์ตเคนยาเดินทางแบบไม่ต้องขอวีซ่าได้แค่ 72 แห่ง

เดินทางข้ามประเทศ

Mehari Taddele Maru จากสถาบัน United Nations University Institute กล่าวว่าโลกพัฒนาแล้วได้บังคับใช้มาตรการควบคุมการย้ายถิ่นอย่างจริงจังมาเป็นเวลาสักระยะหนึ่งแล้ว จากการกวดขันมาตรการคุมชายแดน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของผู้คนในหลายช่องทางด้วยกัน

“ข้อจำกัดในการเดินทางอันเป็นผลจากโควิด-19 เป็นเครื่องมือใหม่ในชุดเครื่องมือควบคุมการย้ายถิ่น ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วได้หยิบมาใช้เพื่อสกัดการเคลื่อนย้ายจากประเทศด้อยพัฒนา

สหราชอาณาจักรและสหรัฐ ซึ่งอยู่ในอันดับ 7 ร่วม โดยเดินทางแบบไม่ต้องขอวีซ่าได้ 185 แห่ง เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนนโยบายห้ามคนเข้าช่วงโควิดเมื่อไม่นานมานี้ แต่ก็แทบจะไม่ได้เปลี่ยนมุมมองของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความไม่เสมอภาคเกี่ยวกับเสรีภาพการเดินทางและการเข้าถึง

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการปฏิเสธที่จะให้การยอมรับวัคซีนที่ใช้กันในแอฟริกา อเมริกาใต้ และเอเชียใต้ด้วย แม้สหรัฐจะเปิดพรมแดนให้ผู้เดินทางที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วทุกคน แต่บัญชีแดงที่สหราชอาณาจักรเพิ่งปรับปรุงใหม่ ยังไม่นับรวมผู้เดินทางที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วจากอาร์เจนตินา บราซิล อินเดีย และแอฟริกาใต้

Christian H. Kaelin ประธานของ Henley & Partners และผู้กำเนิดแนวคิดในการทำดัชนีหนังสือเดินทางนี้กล่าวหากต้องการให้เศรษฐกิจโลกรีสตาร์ทอีกครั้ง ประเทศพัฒนาแล้วจำเป็นต้องสนับสนุนกระแสการอพยพเข้า แทนที่จะยึดอยู่แต่กับข้อจำกัดอันล้าสมัยและเครื่องมือกีดกันส่วนที่เหลือของโลก ต้องลดข้อจำกัด เดินทางข้ามประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

วัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อไหน? ได้รับการยอมรับเดินทางข้ามประเทศมากสุด

บินข้ามประเทศยุคใหม่กำลังเริ่มขึ้น ผู้โดยสารต้องฉีดวัคซีนครบโดส

แคนาดาเปิดรับต่างชาติฉีดวัคซีนครบโดสเข้าประเทศ ไม่มีรายชื่อวัคซีนจีน

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน