กลับสู่ชนบท ของคนยุคใหม่กำลังเกิดขึ้นหลายประเทศทั่วโลก อะไรที่เป็นแรงผลักดันยังเป็นเรื่องที่น่าอธิบายหาสาเหตุ ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสารและการพัฒนาเศรษฐกิจ
ตัวอย่างในจีน ที่เกิดคลื่น กลับสู่ชนบท ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งการสื่อสารและขนส่ง ทำให้คนรุ่นใหม่เริ่มกลับสู่ชนบท ตั้งหลักปักฐานมากขึ้น
ด้วยเทคโนโลยีและระบบโลจิสติกส์สมัยใหม่ ทำให้ทุกที่มีโอกาสเริ่มต้นธุรกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ที่มีทุกอย่างไม่ต่างจากในเมือง
อย่างธุรกิจรูปแบบใหม่อย่างร้านค้าออนไลน์ การจำหน่ายสินค้าผ่านไลฟ์สตรีมมิงหรือไลฟ์สด และการจัดส่งแบบ ได้เปิดโอกาสใหม่แก่ผู้ประกอบการในชนบท โดยมีแรงงานต่างถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย และทหารผ่านศึก เป็นกลุ่มหลักที่เดินทางกลับชนบท
กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท ของจีนระบุว่ามีประชาชนเดินทางกลับสู่ชนบทเพื่อเริ่มต้นธุรกิจในปี 2020 ราว 10 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 19% จากปี 2019 นับว่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา
ผู้เดินทางกลับชนบทกว่า 19 ล้านคน ได้ทำงานในบ้านเกิดหรือบริเวณใกล้เคียง โดย 20% เริ่มทำงานด้านการเพาะปลูกพืชผลและการเลี้ยงสัตว์ ขณะที่ 50% สร้างโรงงานขนาดเล็กและดำเนินธุรกิจต่าง ๆ
ทั้งนี้ รัฐบาลจีนสร้างหน่วยงานบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี 4,849 แห่ง และผู้ประกอบการ 620,000 ราย เพื่อดึงดูดผู้มีความรู้ความสามารถมาผลักดันนวัตกรรมและส่งเสริมการจ้างงานในชนบท อีกทั้งได้ทุ่งงบประมาณมหาศาลในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปในพื้นที่ชนบท
ตัวอย่างในหมู่บ้านเสี่ยวซินหม่าโถว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเฉาไป๋ เขตเป่าตี๋ เทศบาลนครเทียนจิน ทางตอนเหนือของจีน ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการทำประมงและเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งสร้างรายได้น้อย ทำให้คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านอีกหลายคนตัดสินใจจากบ้านเกิดไปทำงานในเมืองใหญ่ในฐานะแรงงานต่างถิ่น แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้มีคนตัดสินใจกลับบ้านเกิด
หลี่เชา เป็นอีกคนในหมู่บ้าน ที่ตัดสินจกลับบ้านเกิด หลังจากทำงานมาแล้วหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นบริกร พ่อครัว พนักงานสายการผลิต เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือพนักงานขาย โดยใช้ชีวิตแบบเดินทางร่อนเร่ตลอดหลายปี ในการไปหาทำงานในเมือง
แต่ขณะที่ หลี่เซอ กลับบ้านเกิดเพื่อแต่งงานในปี 2013 ก็พบว่าหมู่บ้านเล็ก ๆ อย่างเสี่ยวซินหม่าโถว มีการปรับปรุงใหม่และพลิกโฉมต่างไปจากเดิม สายน้ำใสสะอาด สวนสาธารณะใหม่ และไร่นาตั้งเรียงรายเป็นระเบียบภายในหมู่บ้าน ก่อเกิดเป็นลักษณะเฉพาะและจุดแข็งสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในชนบท
หลี่เชาจึงตัดสินใจย้ายกลับมาอยู่บ้านเกิดและเริ่มต้นธุรกิจการเกษตรในท้องถิ่น จากนั้นก็ริเริ่มธุรกิจโฮมสเตย์ด้วยแรงสนับสนุนจากนโยบายของทางการ และขยับขยายกิจการหลังจากได้รับกระแสตอบรับที่ดี
“สภาพแวดล้อมที่พัฒนาดึงดูดนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาเยือนหมู่บ้านของเรา โฮมสเตย์ของผมจะถูกจองจนเต็มในช่วงฤดูท่องเที่ยว” หลี่กล่าว
อีกตัวอย่าง คือ โหยวเจียจิ้ง วัย 29 ปี รองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำหมู่บ้านอิ๋นชวน ในเมืองปี้เจี๋ย มณฑลกุ้ยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งได้ติดสินใจออกจากงานในเมืองและกลับบ้านเกิด
จีนได้ประกาศชัยชนะเหนือความยากจนก่อนหน้านี้ในปี 2021 พื้นที่ชนบทโดยเฉพาะพื้นที่ที่เพิ่งหลุดพ้นจากความยากจนได้มุ่งสู่เส้นทางใหม่แห่งการพลิกฟื้นและการพัฒนา โดยมีชาวจีนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่เกิดในทศวรรษ 1990 เช่นเดียวกับโหยว ที่ตัดสินใจกลับบ้านเกิดเพื่อทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้าน และเป็นเรี่ยวแรงสำคัญให้กับชาวบ้านในการสร้างเขตชนบท
“ปกติแล้วเจ้าหน้าที่พรรคฯ ประจำหมู่บ้านจะถูกเลือกโดยผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือในพื้นที่ และคนรุ่นใหม่ที่ปรารถนาออกไปทำงานนอกพื้นที่มักไม่สนใจทำงานนี้” หลี่ฮุย เลขาธิการพรรคฯ ประจำหมู่บ้านอิ๋นชวน กล่าว
บ้านเกิดของโหยว อยู่ลึกเข้าไปในเทือกเขา ครั้งหนึ่งเคยมีแต่ความยากจนและล้าหลัง โหยวเล่าว่าหากต้องการเดินทางไปยังนครกุ้ยหยาง เมืองเอกของมณฑลกุ้ยโจว เขาต้องขี่รถจักรยานยนต์ไปตามทางแคบๆ เพื่อไปให้ถึงถนนเส้นหลักที่มีรถยนต์วิ่งผ่าน จากนั้นจึงนั่งรถไปยังย่านใจกลางเมืองซึ่งสามารถต่อรถประจำทางเพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง
โหยวทำงานที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในกุ้ยหยางเป็นเวลา 4 ปี หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนอาชีวศึกษา จากนั้นเขาได้รับข้อเสนองานจากเจ้าหน้าที่หมู่บ้านช่วงที่เขาเดินทางกลับไปเยี่ยมพ่อแม่เมื่อปี 2016 โหยวเล่าว่าเขาแปลกใจมากเนื่องจากไม่เคยคิดที่จะทำงานในหมู่บ้านซึ่งไม่มีแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ และมีเงินเดือนแค่เพียง 1,000 หยวน (ราว 5,000 บาท) แต่หลังจากทราบว่าเจ้าหน้าที่หมู่บ้านกำลังวางแผนจัดตั้งสหกรณ์กีวีและพริก เขาจึงตัดสินใจอยู่ต่อ
“เราต้องการคนรุ่นใหม่เช่นโหยว พวกเขามีการศึกษา ความคิดเปิดกว้าง และมีประสบการณ์จากการทำงานในเมือง ซึ่งสามารถเสนอมุมมองและวิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาชนบทได้” หลี่กล่าว
โหยวเริ่มทำงานเป็นผู้ช่วยเลขาธิการพรรคฯ ประจำหมู่บ้านและเรียนรู้การจัดการกิจการต่างๆ ของหมู่บ้าน โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2017 เขาลงสมัครเลือกตั้งในหมู่บ้านและได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการประจำหมู่บ้าน สำหรับงานด้านการแก้จน
ปัจจุบัน โหยวเป็นส่วนหนึ่งของทีมบริหารจัดการของสหกรณ์หมู่บ้านด้านการปลูกพริก และมีตารางการทำงานรายวันแน่นขนัด โดยนอกจากมอบหมายงานในสหกรณ์ให้กับชาวบ้านแล้ว เขายังช่วยแสวงหาช่องทางการจำหน่าย จัดเตรียมการขนส่ง และจัดฝึกอบรมทักษะการทำสวน
ปัจจุบัน หมู่บ้านอิ๋นชวนได้รับการปรับโฉมใหม่ ชาวบ้านต่างอาศัยอยู่ในบ้านหลังใหม่ที่กว้างขวางและตกแต่งอย่างดี ทั้งยังมีโอกาสในการทำงานที่ดีขึ้น
“สิ่งนี้คือชีวิตที่ผมไม่เคยวาดฝันมาก่อน ผมใช้ชีวิตอย่างเต็มเปี่ยม การเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึงเหล่านี้ ทำให้ผมมีความฝันที่ใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีก”
แนวโน้มการกลับสู่ชนบทของจีน เพิ่มสูงขึ้น แต่เป็นข้อมูลในช่วงก่อนการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งกระทบกับวิถีชีวิตคนหลายด้าน คาดว่าจะเกิดกระแสคนกลับถิ่นเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่ในจีน แต่ยังหลายประเทศทั่วโลกที่มีแนวโน้มคนกลับสู่ชนบทสูงในช่วงการแพร่ระบาดมายาวนาเกือบ 2 ปี
ไม่ว่าเราจะเรียกว่า “วิถีปกติใหม่” หรืออะไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นหลายประเทศทั่วโลก
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
เทรนด์เลือกที่อยู่อาศัย ยุคโควิด-19 กระแส’สุขภาพ-รักษ์โลก’ มาแรง
ผู้หญิงจีนยุคใหม่ ‘เก่ง-รวย-สวย-โสด’…และมีน้อย ต้นตอจีนหนุนมีลูก 3 คน