ฉีดวัคซีนโควิด

วัคซีนโควิดช้า “ติดเชื้อ-ตาย”เพิ่ม ปัญหาร่วมทุกประเทศ ไม่ใช่แค่ไทย

ฉีดวัคซีนโควิด ล่าช้า คนไทยพากันด่ารัฐบาลในเรื่องการจัดหาวัคซีนโควิด19 ไม่เพียงพอ และการฉีดวัคซีนเป็นไอย่างล่าช้า แต่ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่มีปัญหาวัคซีนไม่เพียงพอ และ มีประชาชนได้รับวัคซีนในสัดส่วนที่น้อย

ปัญหาวัคซีนไม่เพียงพอ รุนแรงขึ้นเมื่อหลายประเทศเผชิญกับการระบาดของโควิด19 สายพันธุ์เดลตา ซึ่งมีการติดเชื้อรวดเร็วและง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมหลายเท่าตัว และเมื่อผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งเป็นแรงกดดันให้กับหลายประเทศ

ดร. เอ็นเคอโรราประธานคณะที่ปรึกษาทางเทคนิคแห่งชาติว่าด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (NTAGI) ด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ของอินเดียและประธานร่วมของกลุ่มศึกษาจีโนมเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แห่งอินเดีย (INSACOG) กล่าวว่าโอกาสการแพร่เชื้อของชนิดกลายพันธุ์สายพันธุ์บี.1.617.2 หรือเดลตา (Delta) จะมากกว่าเชื้อไวรัสฯสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ราวร้อยละ 40-60

การกลายพันธุ์ส่วนโปรตีนหนาม (สไปก์โปรตีน) ของเดลตา ซึ่งช่วยให้มันจับกับพื้นผิวของตัวรับเอซีอี2 (ACE2) ของเซลล์ได้อย่างแน่นหนา ทำให้มันสามารถแพร่เชื้อได้มากขึ้นและหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ โดยมีอัตราความสามารถแพร่เชื้อสูงกว่าเชื้อกลายพันธุ์ฯ รุ่นก่อน (อัลฟา) ราวร้อยละ 40-60 ทั้งยังแพร่ระบาดไปแล้วในกว่า 80 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร สหรัฐฯ สิงคโปร์ และอื่นๆ”

อนึ่ง กลุ่มศึกษาจีโนมเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แห่งอินเดียเป็นกลุ่มการทำงานร่วมกันของห้องปฏิบัติการ 28 แห่ง ที่จัดตั้งโดยกระทรวงสาธารณสุขของรัฐบาลกลางอินเดียเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน โดยนับตั้งแต่นั้นมากลุ่มดังกล่าวดำเนินการจัดลำดับพันธุกรรมและวิเคราะห์เชื้อไวรัสฯ ที่ปรากฏในอินเดีย รวมถึงแนวโน้มทางระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์

ก่อนหน้านั้น อินเดียรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสเดลตาในแต่ละวันหลักแสนคน ก่อนจะสามารถควบคุมได้จนจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงกว่าครึ่ง แต่ไวรัสเดลตากลับไประบาดประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สร้างแรงกดดันด้านสาธารณสุข จนไม่มีสถานที่รองรับเพียงพอ ซึ่งนำไปสู่ผู้เสียชีวิต

ความล่าช้าการฉีดวัคซีน เกิดขึ้นในทุกประเทศ เนื่องจากในระยะแรก มีข่าวเรื่องความปลอดภัยทำให้ประชาชนไม่กล้าฉีดวัคซีน เนื่องจากกลัวผลข้างเคียง จนกระทั่งมีการระบาดหนักจากโควิดเดลตา ทำให้เร่งการฉีดวัคซีน จนทำให้ปริมาณที่ผลิตได้ไม่เพียงพอ

อิตาลี ระดมฉีดได้แค่ 50.21%

อิตาลี เป็นตัวอย่างที่เร่งฉีดวัคซีน แต่กระทรวงสาธารณสุขของอิตาลี รายงานว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายของโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) มากกว่าครึ่งหนึ่งได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว โดยมีจำนวนมากกว่า 27 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 50.21 ของประชากรอายุ 12 ปีขึ้นไปเมื่อนับถึงวันจันทร์ (19 ก.ค.) ที่ผ่านมา

โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนฯ ใช้วัคซีนที่ได้รับอนุมัติในประเทศ จำนวน 4 ตัว ได้แก่ ไฟเซอร์/ไบออนเทค แอสตราเซเนกา โมเดอร์นา และแจนเซน โดยมีการฉีดแล้ว 61.5 ล้านโดส เริ่มต้นอย่างเชื่องช้ามาตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2021 และเร่งความเร็วยิ่งขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ

สถิติของรัฐบาลระบุว่าหากพิจารณาจากกลุ่มผู้รับวัคซีนครบโดสและผู้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส พบคนกลุ่มอายุ 50-59 ปี ครองสัดส่วนมากสุดด้วยการรับวัคซีน 12.5 ล้านโดส รองลงมาคือคนกลุ่มอายุ 60-69 ปี กลุ่มอายุ 70-79 ปี และกลุ่มอายุ 40-49 ปี

ปัจจุบันอิตาลีประสบปัญหาการติดเชื้อเพิ่มขึ้นรอบใหม่ โดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติอิตาลี (ISS) ระบุเป็นผลจากเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์เดลตา ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตและผู้ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ อิตาลีมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสมมากกว่า 4.2 ล้านราย ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยที่ยังคงรักษาตัว 46,113 ราย และผู้ป่วยเสียชีวิต 127,867 ราย

ดินแดนแห่งวัคซีนก็มีปัญหา

ในสหรัฐ ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีน ก็ยังฉีดให้กับประชาชนเป็นไปด้วยความล่าช้าเช่นเดียวกัน โดยประชากรชาวอเมริกันราว 44% ยังไม่ได้รับวัคซีน แม้รัฐบาลของนายโจ ไบเดน จะพยายามเร่งการฉีดวัคซีนตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

จากศูนย์ข้อมูลไวรัสโคโรนา ของมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮ็อปกินส์ รายงานว่าชาวอมริกันผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันเฉลี่ยอยู่ที่ 23,600 ราย เมื่อวันจันทร์ที่ 12 ก.ค. เพิ่มจากเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 11,300 ราย นอกจากนั้น ทุกรัฐในสหรัฐฯ ยกเว้น รัฐเมนกับเซาท์ ดาโกตา พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน กำลังประสบปัญหาความล่าช้าในการฉีดวัคซีน โดยตอนนี้มีชาวอเมริกันที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดสที่ 55.6%

ล่าสุด รัฐบาลสหรัฐสามารถเร่งฉีดวัคซีนได้เพียงสัปดาห์ละกว่า 300,000 โดสเท่านั้น เนื่องจากชาวอเมริกันจำนวนมากอยู่ในชนบท อีกทั้งอีกจำนวนมากไม่ต้องการฉีดวัคซีน เนื่องจากกังวลผลกระทบในระยะยาว

การสำรวจความเห็นล่าสุดของชาวอเมริกัน คนหนุ่นสาว 18% บอกว่าพวกเขาไม่ต้องการฉีดวัคซีน ขณะที่อีก 11% บอกว่าไม่แน่ใจ ซึ่งคนำที่ยังไม่แน่ใจส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขากลัวผลข้างเคียงจากวัคซีน แต่ชาวอเมริกันจำนวนมากยังเชื่อว่าการกล่าวถึงภัยคุกคามจากไวรัสเกินจริง เนื่องมาจากเหตุผลทางการเมืองมากกว่า

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ โดยเฉพาะประเด็นการฉีดวัคซีนโควิด 19 มีความซับซ้อนมากกว่าเรื่องการจัดหาไม่เพียงพอ ดังจะเห็นว่าสหรัฐรายงานว่ามีวัคซีนหมดอายุกว่าแสนโดส เพราะคนไม่ยอมมาฉีด

อีกทั้งไม่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยจะมีปัญหา “ฉีดวัคซีนโควิด” ล่าช้า นอกจากจะไม่สามารถผลิตวัคซีน ต้องพึ่งพาต่างชาติ คนไทยก็ไม่ยอมฉีดวัคซีนในช่วงแรก เนื่องจากกลัวผลข้างเคียงจากรายงานข่าวการเสียชีวิต แต่กลับมีความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงเกิดการระบาดหนัก ซึ่งในช่วงเวลานี้วัคซีนก็ไม่เพยงพอเสียแล้ว

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง:

มื่อเดลตาครองประเทศอย่างเร็ว ทางรอดต้องเข้มมาตรการป้องกัน

เปิดไทม์ไลน์จัดหาวัคซีนแอสตร้าฯ สธ.ไขข้อข้องใจต้องเจรจารายเดือน

หมอวิชัยไขข้อข้องใจวัคซีนโควิด มีให้รีบฉีด ป้องกันติดเชื้อรุนแรง

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน