หมอวิชัย ไขข้อสงสัยเรื่องวัคซีนโควิด-19 ท่ามกลางความสับสนใจของสังคม ชี้ไม่มีวัคซีนชนิดไหนป้องกันได้ 100% แต่ป้องกันไม่ให้อาการหนัก อีกทั้งไม่แนะนำฉีดข้ามวัคซีน เผยขณะนี้กำลังมีการวิจัยเวอร์ชั่นใหม่ ป้องกันได้หลายพันธุ์
ผศ.นพ.วิชัย เตชะสาธิต แพทย์ผู้ชำรนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ และผู้อำนวยการ ศูนย์บัญชาการสถานการณ์โควิด-19 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แนะนำว่าให้ประชาชนรีบฉีดวัคซีนโควิด ไม่ว่าจะเป็นแพลทฟอร์ม หรือ ยี่ห้ออะไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง
ผศ.นพ.วิชัย กล่าวในช่วงไลน์สดในเพจโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ว่าที่ผ่านมา เรื่องวัคซีนมีความยุ่งเยิงขนาดหนัก เรามาตั้งหลักกันก่อน ซึ่งที่ผ่านมามีอาจารย์แพทย์สองสามท่าน เน้นย้ำเรื่องสำคัญก่อนไปดูว่ามีวัคซีนอะไร
“หลักการสำคัญที่สุดในการรับวัคซีน คือ ฉีดแล้วถึงติดเชื้อโควิดต้อง ไม่เป็นโรครุนแรง ประโยคนี้สำคัญที่สุด ไม่มีวัคซีนไหนที่ออกมาแล้ว ป้องกันโรคได้ 100%”
แต่จากการศึกษาต่าง ๆ ที่ผ่านมา วัคซีนทุกตัวป้องกันไม่ให้เราเป็นโรครุนแรงหลังการติดโควิด สถานการณ์ขณะนี้เรามีคนติดเชื้อรุนแรง ต้องเข้าไอซียูจำนวนมาก
วัคซีนขณะนี้มีหลายแพลทฟอร์ม mRNA ไฟเซอร์ โมเดอร์นา จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน วัคซีนเชื้อตาย คือซิโนแวคและซีโนฟาร์ม ทั้งหมดนี้ การศึกษาที่ผ่านมา 1 ปี แพลทฟอร์ม mRNA ป้องกันการติดเชื้อ 90% ยัแต่งไม่พูดถึงโควิดกลายพีนธุ์ ซึ่งซิโนแวคอาจต่ำสุดในเรื่องการป้องกันติดเชื้อ
“แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วัคซีนคือป้องกันไม่ให้เกิดโรครุนแรง ตัวซิโนแวค จากไปศึกษาครั้งแรกที่บราซิล ไปศึกษาบุคลากรทางการแพทย์หน้าด่าน ซึ่งหากลองไปศึกษารายงานพวกนั้น จะเห็นได้ว่าไม่ได้เป็นหนัก
“เพราะฉะนั้น หากมีวัคซีนอะไรอยู่ตรงหน้า เราเชียร์ให้รีบฉีดเสีย”
ผศ.นพ.วิชัย กล่าวว่าสำหรับวัคซีนโมเดอร์นาใครควรฉีด แน่นอน คือควรที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมา่ก่อน ฉีด 2 เข็มตามตารางที่ให้ แล้วมีข้อถกเถียงคนที่ฉีดตัวอื่นจะทำอย่างไร แน่นอนหากวัคซีนมีพอ เราก็ไม่ควรมานั่งอยู่ตรงนี้ แต่เมื่อมีไม่พอ เราก็ต้องใช้ให้ดีที่สุ เหมาะสมที่สุด เพื่อช่วยให้เรามีภูมิคุ้มกันหมู่เร็วที่สุด
สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เราแนะนำให้ครบ 2 เข็ม ซึ่งจะมีภูมิต้านทาน โดยเฉพาะสายพันธุ์อินเดียก็ยังป้องกันได้ แม้ติดเชื้อ อาการไม่รุนแรง เราเจอฉีดไฟเซอร์ 2 เข็มมาจากต่างประเทศก็ยังติด แต่อาการไม่รุนแรง เช่นเดียวกับซิโนแวค “เราฉีดเยอะก็เจอเยอะ”
สำหรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ถ้าฉีด 2 เข็มแล้วไม่มั่นใจ มันมีเวลามาเกี่ยวข้อง โมเดอร์นา จะเข้ามาคิวไตรมาส 4 แต่ไม่รู้เดือนไหน เราเริ่มฉีดแอสตร้าฯจริงจังเดือนมิ.ย. ถ้าจะฉีดเข็ม 3 กระตุ้น ต้องใช้เวลาห่างกัน 3-6 เดือน นับไปแล้วก็จะไปฉีดเดือนก.พ.ปีหน้า
“ประเด็นอยู่ที่ว่าเขากำลังวิจัย แอสตรามัลติแวเรียน โมเดอร์นามัลติแวเรียน คือ วัคซีนเวอร์ชันใหม่ สายพันธุ์ใหม่ ทั้งสายพันธุ์อินเดีย อาฟริกา รุ่นที่เราฉีด เป็นวัคซีนก่อนหน้านั้น ซึ่งหากถึงตอนนั้น หากมีวัคซีนมาใหม่ ประสิทธิภาพจะดี ข้อแนะนำในเมื่อมีวัคซีนจำกัด ก็อยากให้รอเวอร์ชันใหม่ก่อนจะตัดสินใจฉีดเข็มที่ 3”
ผศ.นพ.วิชัย กล่าวถึงการฉีดวัคซีนคนละยี่ห้อว่าขณะนี้การข้ามแพลทฟอร์ม ยังไม่ได้แนะนำ อยู่ในขั้นการทดลองทั้งหมด เรายังไม่รู้ฤทธิ์ข้างเคียงในระยะยาว ข้อมูลเบื้องต้นดูเหมือนจะดี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือภูมิคุ้มกันหมู่ ต้องให้ได้เร็วที่สุด กับวัคซีนที่มีอยู่ขณะนี้
“ถ้าเรามัวแย่งกันอยู่ขณะนี้ เมื่อไหร่เราจะมีภูมิคุ้มกันหมู่”
ผศ.นพ.วิชัย แนะว่าขณะนี้ยังไม่น่าฉีดข้ามวัคซีน ขอให้ใช้แพลทฟอร์มแรกระต้นภูมิคุ้มกันสูงสุด
สำหรับซิโนแวค ที่เป็นประเด็นร้อนแรงในขณะนี้ แน่นอนที่สุดต้องป้องกันไม่ให้เราป่วยหนัก แต่พอบุคลากรทางารแพทย์ที่ฉีดซิโนแวค แล้วไปเจาะตรวจภูมิคุ้มกัน พบว่าลดลง ซึ่งเป็นลัษณะของวัคซีน ถ้าจะกระตุ้นอีกเข็มให้ภูมิต้านทานยาวออกไป ต้องยอมรับว่าเป็นวัคซีนใหม่ เรายังไม่รู้ว่าภูมิต้านทานยาวนานแค่ไหน คำแนะนำหลังเข็มที่ 2 รวว 3-6 เดือน ขอใช้คำว่า “พิจารณากระตุ้นเข็ม 3” ข้อนี้ยังไม่ได้รับคำแนะนำจากองค์การอนามัย โลก
“การที่เราจะกระตุ้นเข็ม 3 ไม่ใช่เพื่อตัวเรา มองกลับกัน เราต้องทำงาน ต้องดูคนไข้กลุ่มอื่น ขณะนี้ก็ยังฉีดไม่ครบ การฉีดวัคซีนบุคลากรหน้าด่าน จึงไม่ใช่เพื่อตัวเอง”
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง:
วัคซีนป้องกันได้ แต่ไม่ใช่สูตรสำเร็จ รับมือโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
เปรียบเทียบวัคซีนโควิด 5 ยี่ห้อ ข้อดี-ข้อด้อยและเมื่อไหร่จะมา?