โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา

โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ‘ไปเร็ว’ จากพื้นที่เสี่ยงลามสู่ต่างจังหวัด

มาตรการกึ่งล็อกดาวน์ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้ส่งผลข้างเคียงอย่างไม่คาดคิด เมื่อคนในพื้นที่เสี่ยงเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้หอบเอาเชื้อโควิด-19 กลับไปด้วย และที่พบมากขึ้นคือสายพันธุ์เดลตา

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่าในกรุงเทพมหานคร ขณะนี้สายพันธุเดลตามากกว่า 70% ของผู้ติดเชื้อ

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ระบุว่าตั้งแต่เม.ย.-20 มิ.ย. 64 พบสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) จำนวน 5,641 ตัวอย่าง สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 661 ตัวอย่าง และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 38 ตัวอย่าง

ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาสามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าถึง 40-50% เมื่อเทียบกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟา

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่หลายจังหวัด และพบสายพันธุ์เดลตามากขึ้น เกิดจากการเดินทางกลับหลังมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ในพื้นที่ 10 จังหวัด โดยจังหวัดเชียงใหม่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด

สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ รายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ติดเชื้อ 5 ราย แต่เป็นสายพันธ์ุเดลตา(Delta) เพิ่ม 3 ราย รวมเป็น 14 ราย นับตั้งแต่เริ่มประกาศมาตรการกึ่งล็อกดาวน์

การตรวจหาสายพันธุ์เชื้อเดลตาเพิ่ม 2 ราย แต่มีการแพร่ระบาดในกลุ่มญาติใกล้ชิดอีก 1 ราย รวมเพิ่ม 3 ราย รวมทั้งหมดจากเดิมที่รายงานไปแล้ว 14 ราย แต่ยังเป็นการติดเชื้อที่แพร่กันในวงจำกัด ในกลุ่มเครือญาติ เนื่องจากผู้ติดเชื้อที่นำเข้ามามีการกักตัวและตรวจพบเร็ว และมีการควบคุมโรคอย่างรวดเร็ว

“สายพันธุ์ Delta อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้รวดเร็ว แต่การก่อให้เกิดความรุนแรงของโรคไม่ว่าสายพันธุ์ไหนก็ไม่แตกต่างกัน”

เชียงใหม่ ก็เช่นเดียวกับหลายจังหวัดที่มีมาตรการคัดกรองผู้ที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึง ทำให้ผู้ที่เดินทางเข้าพื้นที่สามารถเข้าไปได้ โดยไม่ผ่านการตรวจเชื้อโควิด-19 และกลับไปชุมชนที่เป็นภูมิลำเนา

ยกตัวอย่างเช่น ผู้เดินทางเข้ามาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด และได้ดำเนินการลงทะเบียน CM Chana สะสม 22,939 ราย สามารถติดตามตัวได้ 19,063 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.10 โดยอำเภอเมืองเชียงใหม่ติดตามตัวได้น้อยที่สุด เพียงร้อยละ 71.33 ส่วนผู้ที่ไม่ลงทะเบียน CM Chana ที่ทีมโควิดหมู่บ้านติดตามได้เพิ่มมากขึ้นถึง 108 ราย พบผู้กระทำผิดนี้มากในอำเภอแม่แตง ฝาง สันทราย และแม่อาย แสดงว่ายังมีผู้ที่ทีมโควิดหมู่บ้านยังหาตัวไม่พบอีกจำนวนมาก

จังหวัดเชียงใหม่นับเป็นตัวอย่างให้เห็นการแพร่ระบาดที่กำลังก่อตัวขึ้น เนื่องมาจากการเดินทางไปมาของคนในและนอกพื้นที่ และเป็นความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ที่มีการระบาดได้รวดเร็ว

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง:

พร้อมไหม? รับมือโควิดสายพันธุ์เดลตา ไทยพบแล้ว 596 ราย

สายพันธุ์เดลตา พาโลกเข้าสู่โควิดรอบที่ 4 ไทย ‘เริ่มเอาไม่อยู่’

โควิด-19 ในกทม. 70% สายพันธุ์เดลตา “มีโอกาสติดเชื้อตลอดเวลา”

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน