ภัยออนไลน์

ต้มตุ๋นผ่านออนไลน์พุ่งยุคโควิด กลวิธีภัยการเงิน 9 แบบพบบ่อย

การหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น ในยุโควิด-19 ลุกลามหนัก เมื่อคนอยู่บ้านค้นหาข้อมูลและติดตามข่าวสาร ก็ยิ่งเปิดช่องทางให้แก๊งต้มตุ๋นเฟื่องฟูตามไปด้วย

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ได้รายงานสถิติพบว่าการหลอกลวงผ่านออนไลน์ มีจำนวนมากขึ้นกว่าใช้ช่องทางโทรศัพย์เหมือนกับปีก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายปีที่แล้วมีเพิ่มขึ้น

ลักษณะภัยทางการเงินที่พบบ่อย คือ 

หลอกแอบอ้าง/สวมรอยเป็นบุคคลอื่น เพื่อให้โอนเงินให้ เช่น หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่ ธปท. ญาติพี่น้อง
หลอกจีบให้ตายใจ แล้วขอให้โอนเงินให้ โดยส่วนใหญ่พบเป็นมิจฉาชีพชาวต่างชาติ และติดต่อผ่านช่องทาง Facebook
หลอกว่าช่วยให้ได้สินเชื่อ แต่ให้โอนค่าธรรมเนียมล่วงหน้า เช่น ขอเป็นค่าเอกสารปล่อยกู้
หลอกว่าจะจ่ายชาระคืนหนี้ให้ โดยให้เสียค่าสมัครล่วงหน้า

หลอกให้ชาระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์แล้วไม่ได้ร้บสินค้าหรือบริการนั้นจริง เช่น การซื้อขายหน้ากากอนามัย  

หลอกให้โอนเงินให้ โดยอ้างว่าจะได้รับเงินก้อนใหญ่หรือพัสดุที่มีมูลค่าสูงจากมิจฉาชีพต่างชาติ ที่ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ โดยหลอกให้โอนเงินเป็นค่าธรรมเนียมหรือภาษี
หลอกให้ลงทุน เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูง ในรูปแบบการลงทุนต่าง ๆ เช่น Forex Bitcoin เงินดิจิทัล แชร์ลูกโซ่ออนไลน์ ธนาคารแสงแดด โครงการปลูกป่าลดหนี้
หลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล/ขโมยข้อมูล ผ่านรูปแบบ เช่น หลอกให้กรอกข้อมูลใน e-mail/website/applicationปลอมของ สถาบันการเงิน
ปลอมแปลงข้อมูล บัตรเครดิต/บัตรเดบิต เพื่อนำไปชาระค่าสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ 

สถิติการหลอกลวงที่มีการแจ้งผ่านช่องทางทางศคง.การแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับภัยทางการเงินลดลงเกือบ 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน แต่ยังคงเป็นในกลุ่ม wealth products ทั้งด้านเงินฝากผ่านช่องทางออนไลน์เป็นสำคัญและการลงทุนในธุรกรรมใหม่ ๆ เช่น การลงทุนในต่างประเทศ และ Bitcoin เป็นต้น 

ในปี 2563 มีการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับปัญหาภัยทางการเงิน 617 รายการ ลดลงร้อยละ 31 จากปี 2562 โดย ศคง.ได้ให้คำปรึกษา 542 รายการ คิดเป็น ร้อยละ 88 รับเป็นเรื่องร้องเรียน 62 รายการ คิดเป็นร้อยละ 10 และบันทึกเป็นการแจ้งเบาะแส 13 รายการ คิดเป็นร้อยละ 2 

ส่วนใหญ่พบเรื่องร้องเรียนในประเภทผลิตภัณฑ์เงินฝาก/เงินโอน/เช็ค และในปี 2563 พบว่าแนวโน้มเรื่องร้องเรียนสูงสุดที่ไตรมาส 4 โดยในปี 2563 ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนการหลอกลวงมากที่สุด คือ เงินฝาก/เงินโอน/เช็ค มีจำนวน 317 รายการ คิดเป็นร้อยละ 51 ของการหลอกลวงทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เป็นปัญหาถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ (email/ social media/ website) 

อันดับสองคือ สินเชื่อ มี 87 รายการ คิดเป็นร้อยละ 14 ส่วนใหญ่เป็นปัญหาหลอกลวงให้โอนเงิน สมัครเข้าร่วมโครงการเงินกู้ และแอบอ้าง เป็น ธปท. รองลงมาคือ การลงทุน มีจำนวน 63 รายการ คิดเป็นร้อยละ 10 ส่วนใหญ่การหลอกลวงให้ลงทุนในต่างประเทศ แชร์ลูกโซ่ และธุรกรรมอื่นๆ เช่น FOREX Bitcoin 

หากจำแนกตามลักษณะการหลอก ช่องทางที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น คือ ช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook Line e-mail ในขณะที่ช่องทางโทรศัพท์มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากพฤติกรรมการหลอกลวงโดยมิจฉาชีพเปลี่ยนเป็นการหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีผู้ใช้งานจำนวนมากและการหลอกลวงมีรูปแบบที่ซับซ้อนและตรวจสอบได้ยากกว่า

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน