สังคมสูงวัย

สังคมสูงวัย ‘พูดกันมาก ทำกันน้อย’ มีเทคโนโลยีรองรับแค่ไหน

สังคมสูงวัย กำลังมาอย่างเร่งรีบ แต่สังคมไทยพร้อมแค่ไหนในการรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ลองไปสำรวจการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับ “ผู้สูงวัย” ที่จะมีมากขึ้นในสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบในอีก 2 ปีข้างหน้า ว่าไทยพร้อมแค่ไหน

ในอีก 2 ปีข้างหน้า ประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่การเป็น “สังคมสูงวัย” โดยสมบูรณ์ในปี 2566 และเป็นสังคมสูงวัยระดับสูงมากในปี 2576 ที่จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึง 28% ของประชากรทั้งประเทศ

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะประเทศไทย แต่เป็นปัญหาทั่วโลก โชคดีหน่อยตรงที่มีการพัฒนาเทโนโลยีสื่อสารเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ทำให้มีช่องทางการบริหารจัดการหลายด้าน ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นและแก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น จากการบริการที่แม่นยำและรวดเร็วผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

สังคมสูงวัย

ทุกวันนี้ ผู้สูงอายุในประเทศไทยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตกันเพิ่มขึ้น แต่ก็ถือว่ามีการใช้งานกันน้อย เมื่อเทียบกับหลายประเทศ จากการสำรวจสัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประชากรที่มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป พบว่ามีส่วนส่วนค่อนข้างต่ำ เพียง 3% เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศที่มีสัดส่วนการใช้งานค่อนข้างสูง อย่างเช่นมาเก๊า มีสัดส่วนมากที่สุดในโลกถึง 44%

สาเหตุที่ผู้สูงอายุในประเทศมีการใช้งานน้อย เนื่องมาจาก

-ขาดความรู้ในการใช้งาน

-ค่าใช้จ่ายในการใช้งานสูง ทั้งราคาสมาร์ทโฟนและค่าบริการอินเทอร์เน็ต

-กังวลเรื่องความปลอดภัย

แล้วผู้สูงอายุที่ใช้งานประจำ ใช้งานอะไรมากที่สุดและแอปพลิเคชันอะไรที่ได้รับความนิยม?

แอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้สูงอายุที่ได้รับการสำรวจ คือ แอปพลิเคชันของธนาคารสำหรับร้านค้า กระเป๋าเงินของรัฐบาล เช่น เป๋าตังและถุงเงิน เศรษฐกิจแบบแบ่งปันหรือ Sharing Economy อย่าง Agoda Airbnb เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เพื่อชอปปิง ส่วนโซเซียลมีเดียก็ได้รับความนิยม เช่น เฟซบุ๊ก และไลน์

สังคมสูงวัย

ดังนั้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ต ภาครัฐควรส่งเสริมให้เกิดการรับรู้และสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆเพื่อเป็นประโยชน์ต่ต่อการเข้าถึงเทคโนโลยี รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์จากมาตรการของรัฐบาลผ่านช่องทางเทคโนโลยี

ประโยชน์ของเทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ

-เพิ่มความใกล้ชิดในครอบครัว ผู้สูงอายุสามารถคุยกับลูกหลานที่อยู่ทางไกลได้อย่างง่ายดาย

-เปิดโลกใหม่ให้กับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุสามารถหาข้อมูลเรื่องที่สนใจได้ในทันที ทำให้ได้รับรู้ความเคลื่อนไหวในสังคมและได้เรียนรู้สิ่งใหม่ แม้จะอยู่บ้าน

-สร้างความเพลิดเพลิน อินเทอเร์เน็ตช่วยสร้างความเพลิดเพลิน เช่น การดูหนัง ฟังเพลง

ฝึกสมอง การใช้เทคโนโลยีเป็นการช่วยฝึกความจำและพัฒนาสมอง รวมถึงช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ดี

สุขภาพ เปิดคลิปและออกกำลังกายที่บ้าน ตั้งเวลาเดือนกินยา หรือ ดูกำหนดการต่าง ๆ เช่น เดินทางไปพบแพทย์ ทำได้ง่ายขึ้น

เพื่อความสะดวกในชีวิตประจำวัน รับความช่วยเหลือจากภาครัฐได้อย่างรวดเร็ว เรียกบริการต่าง ๆ ได้ง่าย เช่นแท็กซี่ หรือ สั่งซื้อของออนไลน์

เพิ่มความปลอดภัย เทคโนโลยีสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน

ในเมื่อรัฐบาล ประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ก็ไม่ควรจะมุ่งแต่ภาคการผลิต แต่ควรหันดูแลการใช้เทคโนโลยีสำหรับคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ให้สามารถเขาถึงได้ เพราะนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะเป็นไปได้ยาก หาก “คนไทย”ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

การพัฒนาเทคโนโลยีจะมีแต่ความว่างเปล่า หากปราศจากคนเข้าไปมีส่วนร่วม

ที่มาข้อมูล: BOT พระสยาม Magazine

อ่านเรื่องอื่นที่น่าสนใจ: หนี้ครัวเรือน พุ่งทะยานจากโควิด-19 ระเบิดเวลาสังคมไทย

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน