โลกร้อน

ลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ‘ไม่ง่าย’ หรือเราจะเลี่ยงโลกร้อนได้ยาก?

อีกราวสามสัปดาห์ ผู้นำจาก 196 ประเทศทั่วโลกจะมาพบปะกันที่เมืองกลาสโกว์ สก๊อตแลนด์ เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ COP26

การประชุมคราวนี้ จัดโดยองค์การสหประชาชาติ โดยเรียกกันว่า COP26 โดย COP ย่อมาจาก Conference of the Parties

ก่อนการประชุมหลายฝ่ายตั้งความหวังว่าการประชุมครั้งนี้ จะทำให้มีความคืบหน้าสำคัญในมาตรการเพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบร้ายแรงที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำทะเล และสภาพอากาศแบบสุดโต่ง

แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป เมื่อเกิดการขาดแคลนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ทำให้ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีน ที่เผชิญกับการขาดแคลนไฟฟ้า ต้องหันกลับมาพึ่งพาเชื้อเพลิงจากถ่านหินอีกครั้ง รวมถึงราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานขึ้นชี้ให้เห็นว่าทุกประเทศยังต้องพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล

แต่การครั้งนี้ ก็หวังว่าจะมีความคืบหน้าที่สำคัญจะช่วยให้สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไว้ได้ ผู้นำโลกจะใช้โอกาสนี้พูดคุยกันว่าได้ทำอะไรไปบ้าง สำเร็จมากพอหรือไม่ นับจากลงนามในความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อปี 2015

ตามเป้าหมายลดปัญหาโลกร้อน ทุกประเทศต้องร่วมกันมีมาตรการจำกัดอุณภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แม้ว่านับตั้งแต่ความตกลงปรารีส ยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนมองว่าจะทำไม่ได้ตามเป้า โดยโลกอาจร้อนขึ้นมากถึง 3 องศาเซลเซียส ซึ่งนั่นคือความหายนะ

ตามเป้าหมายหากจะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนภายในปี 2030 ทุกประเทศต้องร่วมกันปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero กล่าวคือ การไม่ปล่อยก๊าชเรือนกระจกไปมากกว่าที่สามารถกำจัดได้ ภายในปี 2050 โดยจะต้องหยุดใช้พลังงานถ่านหิน หยุดตัดไม้ทำลายป่า เปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า และเพิ่มการลงทุนในการผลิตพลังงานหมุนเวียน

แต่ก่อนการประชุม COP26  เพียงไม่กี่สัปดาห์ เกิดปัญหาพลังงานขาดแคลน โดยเฉพาะในจีนที่เกิดขาดแคลนกระแสไฟฟ้าไปทั่วประเทศ ส่งผลกระทบต่อการผลิตและบ้านเรือน ทำให้ทางการจีนต้องสั่งนำเข้าถ่านหินและสั่งให้โรงงานไฟฟ้าพลังถ่านหินเร่งผลิตพลังงานเพื่อแก้ปัญหาไฟดับ

สหภาพยุโรปก็กำลังมีปัญหาการต่อต้านเป้าหมายเรื่องการใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็ขอให้กลุ่มประเทศโอเปกและพันธมิตร(OPEC+) เพิ่มการผลิตน้ำมัน เพื่อแก้ปัญหาราคาแพง

จากสถานการณ์ข้างต้น นับว่าเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าวิกฤติด้านพลังงานกำลังเข้ามาขวางทางความพยายามเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศของโลก

คริสติน เชียร์เลอร์ ผู้อำนวยการโครงการถ่านหินของหน่วยงานชื่อ Global Energy Monitor ซึ่งติดตามการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกชี้ว่าสำหรับในประเทศจีนเองความกังวลเรื่องปัญหาไฟฟ้าขาดแคลนช่วยสนับสนุนการโต้แย้งของกลุ่มอุตสาหกรรมถ่านหินที่ว่าความพยายามเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนเกิดขึ้นเร็วเกินไป

จากเศรษฐกิจของโลกในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดและความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็เป็นผลให้รัฐบาลหลายประเทศต้องหันกลับไปพึ่งพาวิธีการผลิตตามที่มีอยู่เดิมเพราะโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมในขณะนี้ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ

นอกจากนั้น แหล่งพลังงานธรรมชาติก็มีความไม่แน่นอน อย่างเช่น ในอังกฤษและบนทวีปยุโรปในช่วงปีที่ผ่านมานี้แรงลมมีกำลังอ่อนกว่าที่เคยเป็นมาทำให้ใช้ผลิตพลังงานได้ต่ำกว่าเป้า ส่วนในประเทศจีนเองฝนที่ตกน้อยกว่าเกณฑ์ในบางพื้นที่ก็ทำให้เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าได้ต่ำกว่าเป้าหมาย

แต่นอกจากปัญหาการผลิตพลังงานโดยอาศัยธรรมชาติซึ่งอยู่เหนือความควบคุมของมนุษย์แล้ว ปัญหาการเมืองก็ส่งผลต่อวิกฤติด้านพลังงานอีกด้านหนึ่งด้วย ตัวอย่างเช่น รัสเซียถูกระบุว่าชะลอการส่งก๊าซธรรมชาติให้กับยุโรปเพื่อกดดันกระบวนการตัดสินใจอนุมัติการสร้างท่อก๊าซธรรมชาติ Nod Steam 2 ใต้ทะเลบอลติค

ส่วนจีนก็สั่งกักถ่านหิน ซึ่งเดินทางมาจากออสเตรเลียไว้ที่ท่าเรือเป็นเวลาหลายเดือนเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการที่รัฐบาลออสเตรเลียเรียกร้องให้มีการสอบหาต้นตอและที่มาของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีน

แรงกดดันทางเศรษฐกิจก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ทำให้หลายประเทศหันกลับไปใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตพลังงาน อย่างเช่นจีนซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานว่าประธานาธิบดีสี จิ้น ผิงประกาศว่าจะเลิกสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินในต่างประเทศนั้น แต่เมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าดับในหลายมณฑลและความต้องการสินค้าจากจีนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงใกล้ปลายปี ปักกิ่งก็กลับไปสั่งให้เหมืองถ่านหินผลิตเพิ่มขึ้นถึง 100 ล้านเมทริกซ์ตัน

การกลับไปพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินก็เกิดขึ้นทั้งในอังกฤษและในบางประเทศของยุโรปด้วย ส่วนในสหรัฐฯ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกำลังสูงขึ้นท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งก็โยงไปถึงปัญหาการขาดแคลนพลังงานด้วย

แรงกดดันเฉพาะหน้าจากปัญหาขาดแคลนพลังงานและปัจจัยทางเศรษฐกิจทำให้หลายประเทศต้องหันกลับไปพึ่งพาการผลิตพลังงานแบบเดิม และตามข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศหรือ IEA  ระบุว่าโลกจะบรรลุภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มจะไม่มากกว่าการกำจัดออกจากสภาพบรรยากาศภายในปีค.. 2050 จะต้องยุติการขยายการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยสิ้นเชิง

ที่มา : CNN, VOA

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

5 เมกะเทรนด์ กระทบสังคมรุนแรง หนักสุด’น้ำท่วม’ กทม.จากโลกร้อน

แนวปะการังทั่วโลก เสี่ยงภาวะฟอกขาวครั้งใหญ่ จากภาวะโลกร้อน

กรุงเทพในจินตนาการ อีก 30 ปีข้างหน้า

 

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน