สัปปายะสภาสถาน อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ เป็นสถาปัตยกรรมที่ภาคภูมิใจของคนสร้าง แต่อะไรที่อยู่เบื้องลึกของสถาปัตยกรรมการเมืองแห่งนี้
ก่อนที่จะกล่าวถึง สัปปายะสภาสถาน มีงานศึกษาของนักวิชาการต่างชาติ 2 คน คือ David Mulder van der Vegt และ Max Cohen de Lara, ที่เพิ่งตีพิมพ์งานวิจัยชื่อว่า Parliament โดยทั้งสองคนเป็นสถาปนิกมีสำนักงานที่อัมสเตอร์ดัม เนเธอแลนด์
งานวิจัยชิ้นนี้ใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี ศึกษาอาคารรัฐสภาในรูปแบบต่าง ๆ ทั่วโลก 193 ประเทศ โดยตั้งประเด็นว่าสถาปัตยกรรมที่เป็นแหล่งรวมอำนาจทางการเมืองของประเทศส่งผลต่อกระบวนการทางการปกครองอย่างไร และสถาปัตยกรรมอาคารรัฐสภาสะท้อนวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างไร
รัฐสภาเป็นสถานที่ “การเมือง” สร้างรูปก่อร่างขึ้นขึ้นมา ณ ที่นี้ การตัดสินใจร่วมกันเกิดขึ้นจากการกำหนดขึ้นมาอย่างจำเพาะเจาะจง ซึ่งความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ แสดงออกผ่านสถาปัตยกรรม และการใช้สถานที่ หรือ space ของสถาปัตยกรรม ไม่เพียงแค่สะท้อนวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละประเทศ แต่ยังมีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองอีกด้วย หากตามแนวคิดที่ว่าสถาปัตยกรรมที่สำคัญก็สะท้อนอำนาจทางการเมืองของสังคม อาคารรัฐสภาก็สะท้อนให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วประเทศนั้นเป็นอย่างไรกันแน่
หนังสือเล่มนี้ นับเป็นเล่มแรกที่มีการเปรียบเทียบการเมืองจากสถาปัตยกรรมทั่วโลก โดยศึกษาประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศมีรัฐสภา แต่จะเป็นประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นแต่ละประเทศ และพบว่าเป็นเรื่องน่าแปลกมากที่ลักษณะของสถาปัตยกรรมอาคารรัฐสภาแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลยนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
รูปแบบที่พบทั่วไปมากที่สุดคือ ครึ่งวงกลม (semicircle) จัดเป็นรูปแบบของรัฐสภาเก่าแก่ที่สุด ย้อนกลับไปถึงช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส รูปแบบครึ่งวงกลมพบทั่วไปในยุโรป ซึ่งนำมาใช้เมื่อมีการสร้างรัฐชาติในศตวรรษที่ 19 โดยเลียนแบบมาจากโรงละครกรีกและโรมันโบราณ เพื่อสื่อถึงการฟื้นขึ้นมาใหม่ของอาณาจักรโบราณอันรุ่งเรืองกับยุคใหม่

สถาปัตยกรรมแบบครึ่งวงกลมทำให้เกิดการหลอมรวมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาคม แม้จะอยู่ฝ่ายตรงข้าม แต่รูแบบของกรีกต้องการเปิดพื้นที่ให้กับพลเมืองทุกคนที่เข้ามาร่วม โดยมีรูปแบบประชาธิปโตยทางตรง แต่รัฐยุโรปที่เกิดขึ้นใหม่ใช้สถาปัตยกรรมครึ่งวงกลมเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองที่ได้รับการคัดเลือกมา (ประชาธิปไตยทางอ้อม)
ความขัดแย้งระหว่างสถาปัตยกรรมที่เอื้อให้เกิดประชาธิปไตยทรงตรง กับสถาปัตยกรรมแบบประชาธิปไตยทางอ้อมของบรรดาชนชั้นนำ ยังมีให้เห็นจนทุกวันนี้
แต่รูปแบบครึ่วงกลม เป็นสถาปัตยกรรมหลัก ๆ ในเวทีการเมืองโลกทุกวันนี้ รัฐสภาของพวกยุโรปก็เป็นประเภทนี้ แม้แต่สภาของสหภาพยุโรป ทั้งในบรัสเซลส์ (Brussels) และ สทราชบูร์ (Strasbourg) ก็เป็นแบบครึ่งวงกลม สะท้อนให้เห็นถึงอุดมคตดิการสร้างชาติในศตวรรษที่ 19
ประเภทที่สอง ตัวแบบอังกฤษ มีที่นั่งฝั่งตรงกันข้าม แม้ว่าทุกวันนี้จะเชื่อกันว่าเป็นโมเดลแบบประชาธิปไตย แต่โมเดลนี้ก็มาจากระบบที่ต่อต้านประชาธิปไตย เพราะสภาอังกฤษที่มีที่นั่งอยู่ตรงกันข้าม มาจากกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ 2 กลุ่ม ซึ่งมีหน้าที่แนะนำพระมหากษัตริย์ของอังกฤษ คือ พวกนักบวชและขุนนาง เมื่อเกิดข้อตกลง Magna Carta ในปี ค.ศ. 1215 มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างกษัตริย์และผู้อยู่ใต้ปกครอง ทำให้สถานะของการประชุมมีความสำคัญขึ้น การประชุมครั้งแรกเกิดขึ้นที่กลางวิหาร St Stephen’s Chapel ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมอบบแถวตรงกันข้าม ซึ่งตัวแบบประชาธิปไตยก็เกิดขึ้นมารายรอบกษัตริย์ที่อยู่ตรงกลาง เป็นศูนย์รวมอำนาจ



การจัดที่นั่งแบบสองข้างเหมือนกับการที่ประชุมราชสำนัก ไม่มีเปลี่ยนแปลงแม้จะการมีการกระจายอำนาจทางการเมืองในอังกฤษ
แม้ว่าจะมีการสร้างสภาผู้แทนราษฎรใหม่หลายสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งสภาเดิมถูกระเบิดถล่ม แต่วินส?ตัน เชอร์ชิลล์ ก็ยังคงรักษารูปแบบการจัดที่นั่งเหมือนเดิม แต่มันก็เล็กเกินไปในยุคใหม่ที่มีจำนวนสมาชิกมากขึ้น มักจะวุ่นวายและแออัดในช่วงที่มีการถกเถียงในเรื่อสำคัญ ๆ
ทุกวันนี้ รูแบบของสภาที่มีที่นั่งสองฝั่ง ปรากฏให้เห็นในอาณานิตคมเดิมของอังกฤษ Bahamas, Zimbabwe และสิงคโปร์
รูปแบบที่สาม เป็นการผสมมาจากสองแบบแรก ฝ่ายตรงข้ามนั่งแบ่งครึ่งจากด้านหนึ่งเป็นรูปเกือกม้า รูแบบนี้ พบได้ในประเทศเครือจักรภพ เช่น ออสเตรเลีย มาเลเซีย และอาฟริกาใต้ แต่อาคารรัฐสภาที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก คือ Jatiyo Sangshad ในบังคลาเทศ ที่ออกแบบโดย หลุยห์ คาห์น
รูปแบบที่สี่ เป็นวงกลม (circle) มีเพียง 9 ประเทศในโลกที่มีการออกแบบเช่นนี้ มาจากรูปแบบเก่าแก่ของไอซ์แลนด์ตั้งแต่ศตวรรที่ 8 จากนั้นมีการนำมาใช้ในเยอรมมนีในทศวรรที่ 1980 ในสมัยเป็นเยอรมันตะวันตกที่กรุงบอนน์ แม้ว่ารัฐสภาแห่งนี้จะถูกยกเลิกไปเมื่อมีการรวมเยอรมันตะวันตก-ตะวันออก ย้านไปที่เมืองเบอร์ลิน แต่รูปแบบรัฐสภาแบบนี้แสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมในระบบประชาธิปไตย



รูปแบบที่ห้า เป็นพวกชั้นเรียน(classroom) โดยมีบรรดาสมาชิกนั่งเป็นแถววอยู่ด้านล่าง มุ่งสนใจไปที่ผู้พูดคนเดียวด้านหน้า รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนี้ส่วนมากอยู่ในประเทศที่มีดัชนีความเป็นประชาธิปไตยต่ำ เช่นสภาของรัฐเซีย จีน และเกาหลีเหนือ อีกทั้งขนาดของห้องก็สอดคล้องกับดัชนีประชาธิปไตยด้วย ประเทศประชาธิปไตยน้อยมากจะมีห้องประชุมขนาดใหญ่



แม้ว่าแต่ละประเทศ รวม 193 ประเทศ ที่มีรัฐสภา ระบุว่าสถาปัตยกรรมของอาคารรัฐสภาสะท้อนเอกลักษณ์ของชาติ รัฐสภาทั่วโลกก็มีรูปร่างอยู่ใน 5 รูปแบบนี้ ส่วนมากรูปแบบรัฐสภาเป็นอาคารที่ประดิษฐ์กันขึ้นมาเมื่อศตวรรษที่ 19 แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากจากต้นแบบเดิม ซึ่สะท้อนให้เห็นขาดนวตกรรมการก่อสร้างอาคารรัฐสภา ขณะที่โลกภายนอกเปลี่ยนโฉมไปมาก แต่อาคารรัฐสภายังเป็นของเก่าโบราณที่ตกทอดกันมา
สถาปัตยกรรม ถือเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคน เพื่อสร้างโลกที่เหมาะแก่การอาศัยอยู่ ในช่วงที่ระบอบประชาธิปไตยหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับการท้าทายเรื่องประชาธิปไตย “แท้-เทียม” แต่คนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมากจากเมื่อ 200 ปีที่แล้ว
ดังนั้น อาจจำเป็นต้องกลับมาคิดเกี่ยวกับสถานที่จัดประชุมสภา ที่ใช้เป็นกระบวนการตัดสินใจ สถาปัตยกรรมนับเป็นทางหนึ่งในการทำอะไรใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตร่วมสมัย แต่ยังเป็นเรื่องท้าทายในทุกวันนี้ว่าทำไมไม่มีการเปลี่ยนแปลง
แล้ว สัปปายะสภาสถาน เป็นแบบไหน ประเทศไทยอยู่กลุ่มไหน?
วิกิพีเดีย ระบุว่า สถาปนิกผู้ออกแบบ สัปปายะสภาสถาน นำเสนอคติและสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของไทยในอดีตผสมผสานไปกับเทคโนโลยีการก่อสร้าง ระบบโครงสร้างทางสังคม และระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขในปัจจุบัน ผ่านทางรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่บนพื้นฐานทางภาษาและฉันทลักษณ์ตามอย่างสถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี ตามคติไตรภูมิที่นอกจากจะแสดงเอกลักษณ์ทางจิตวิญญาณถึงความเป็นไทย ยังมีความหมายเพื่อให้บุคคลที่เข้ามาอยู่ในสภาสำนึกถึงบาปบุญคุณโทษ
นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดของ “สถาปัตยกรรมสีเขียว” (Green Architecture) ซึ่งเห็นได้จากการปลูกต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบอาคาร ในขณะเดียวกัน ก็มีการวิจารณ์ถึงความเหมาะสม จากการใช้ไม้สักจำนวนกว่า 5,000 ท่อน ซึ่งจะนำมาจากกรมอุตสาหกรรมป่าไม้ มาใช้ทำเสาประดับรอบอาคาร และฝ้าประดับห้องประชุมใหญ่ทั้งสอง รวมถึงการใช้ไฟฟ้าของอาคารเมื่อเปิดทำการ ที่มีความต้องการไฟฟ้าเทียบเท่ากับอำเภอถึงสองอำเภอ
สัปปายะสภาสถาน ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งการวิจารณ์ว่าออกแบบที่เหมือน “วัด” จากมุมมองสถาปนิก รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้ออกมาวิจารณ์ว่า “ใช้ความหมายเดิม ๆ ศีลธรรมเป็นเรื่องจอมปลอม ไม่คำนึงถึงปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาของสังคม และการใช้งานไม่เอื้อให้เป็นพื้นที่ของประชาชนอย่างแท้จริง” และกล่าวเสริมต่อว่า “การใช้แนวคิดด้านพระพุทธศาสนามากเกินไปจนไม่มีมุมมองด้านประชาธิปไตยและการออกแบบที่ยังคงวนอยู่ในกรอบของภาษาความเป็นไทยทางสถาปัตยกรรมที่ตื้นเขินและไม่มีอยู่จริง”
จากแนวคิดข้างต้น และการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก ทั้งเรื่องการออกแบบและใช้งบประมาณกว่า 12,000 ล้านบาท แต่กระนั้น ผู้ที่รับผิดชอบในการก่อสร้าง ก็มีความภาคภูมิใจที่บอกว่ารัฐสภาของไทย “ใหญ่ที่สุดในโลก”
ด้วยรูปแบบที่นั่งเหมือน “ห้องเรียน” และขนาดใหญ่โตนี้เอง คงบอกได้ว่าประชาธิปไตยของประเทศเป็นแบบไหน หากยึดตามแนวคิดของนักวิจัยสองคน ที่ทำการศึกษาสถาปัตยกรรมการเมืองแบบนี้ทั่วโลก