กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนก.ย. 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 1.68% กลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากที่ลดลง 0.02% ในเดือนก่อนหน้า
ปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดลงของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ ด้านสาธารณูปโภค (ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ าประปา) ขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ยังสูงกว่าปีก่อนอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดส่วนใหญ่ยังต่ำกว่าปีก่อน โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด ผักสดและผลไม้สด ยกเว้น ไข่ไก่ ที่ยังมีราคาสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน
สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหว สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการในการบริโภค
เมื่อหักอาหารสดและพลังงาน ออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ 0.19%
เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.- ก.ย.) ปี 2564 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 0.83% และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้น 0.23% สำหรับเงินเฟ้อไตรมาสที่ 3 ปี 2564 สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.70% และสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 0.23%
เงินเฟ้อในไตรมาสสุดท้ายของปี หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการอย่างมีนัยสำคัญเพิ่มเติม จะ มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญจาก
1) แนวโน้มราคาน้ ามันยังอยู่ในทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในอัตราเพิ่มที่น้อยกว่า ช่วงที่ผ่านมา
2) แนวโน้มสถานการณ์โควิดเริ่มผ่อนคลายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาด าเนินการได้ตามล าดับ และ
3) แนวโน้มการ อ่อนค่าของค่าเงินบาท ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและขนส่ง
สินค้าในหมวดอาหารสดบางชนิด โดยเฉพาะ ข้าว ผักสดและผลไม้สด ยังคงมีแนวโน้มต่ำกว่าปีก่อน และมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ขณะที่สถานการณ์โควิดยังคงเป็นความเสี่ยงที่เป็นตัวแปรสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ต้องเฝ้าระวังและส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน 2564 กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับสมมุติฐานสำหรับคาดการณ์เงินเฟ้อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2564 จะอยู่ระหว่าง 1.0 ± 0.2% หรืออยู่ในช่วง 0.8 – 1.2%
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
มาตรการลดค่าครองชีพฉุดเงินเฟ้อเดือนส.ค.ติดลบรอบ 5 เดือน
คาดกนง.คงดอกเบี้ย 29 ก.ย.นี้ เศรษฐกิจแย่จากโควิด-เงินเฟ้อต่ำ
บัฟเฟตต์ ใช้กลยุทธ์ลงทุนอย่างไร ต่อสู้กับเงินเฟ้อที่กำลังพุ่งทะยาน