WFH ยุคโควิด-19

WFH ยุคโควิด-19 ทำคนชั่วโมงทำงานเกิน 55 ชม./สัปดาห์ เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง-หัวใจ

WFH ยุคโควิด-19 ที่หลายประเทศออกมาตรการคุมการแพร่ระบาด และหนึ่งในมาตรการนั้นคือ การทำงานที่บ้าน (Work From Home) แม้จะฟังดูดี แต่กำลังกระทบต่อสุขภาพของผู้คน เนื่องจากชั่วโมงทำงานที่ยาวนานเกินไป

ชั่วโมงการทำงาน ที่ยาวนานเกินไป ส่งผลเสียต่อมนูษย์ เป็นเรื่องรับรู้กันมานาน และในยุคปัจจุบันที่คนทำงานกันมากขึ้นจากระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นกับโรคที่มาจากชั่วโมงทำงานมากเกินไป

ผลการศึกษาร่วมโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 745,000 รายในปี 2016 และกลายเป็นอันตรายจากการทำงานอันดับสามเนื่องจากผู้ที่ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีความเสี่ยงป่วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

การศึกษาพบว่าปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการทำงานเป็นเวลานาน 39,800 ราย และโรคหลอดเลือดหัวใจที่เกิดจากสาเหตุเดียวกัน 347,000 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 นับตั้งแต่ปี 2000

ผู้ที่ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นร้อยละ 35 และมีความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจสูงขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับผู้ที่ทำงาน 35-40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ผู้ชายจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเหล่านี้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากร้อยละ 72 ของผู้เสียชีวิตเป็นเพศชาย ขณะผู้อาศัยในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนคนงานวัยกลางคนหรือสูงอายุ ต่างได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

ปัจจุบันที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ยังคงแพร่ระบาด ทำให้ผู้คนต้องทำงานเป็นเวลานานเพิ่มขึ้น โดยบริษัทและรัฐบาลกำหนดให้ลูกจ้างทำงานจากบ้าน ซึ่งดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ว่า “การทำงานจากบ้านทำให้ขอบเขตระยะเวลาของการทำงานไม่ชัดเจน”

ปัจจุบันร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมดมีกะทำงานเป็นเวลานาน โดยการทำงานจากบ้านทำให้สถานการณ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

“ไม่มีงานใดที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจำเป็นตกลงเรื่องขีดจำกัดเวลาทำงาน เพื่อปกป้องสุขภาพ” ” ทีโดรสกล่าว “

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน