เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทางการลาวระบุว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดกลายพันธุ์ คือ “เดลตา พลัส” ทำให้เกิดการระบาดรวดเร็ว แต่ยังหาต้นตอที่มาไม่ได้ว่าติดมาจากไหน เพียงแต่พบในผู้ป่วยในประเทศ
ก่อนหน้านี้ ทางการลาวประกาศล็อกดาวน์ และเข้มงวดการเดินทางข้ามพรมแดนไทย-ลาว เนื่องจากการระบาดในไทยค่อนข้างรุนแรงและพบผู้ติดเชื้อทุกจังหวัดของประเทศ ในขณะที่จากมาตรการล็อกดาวน์ทำให้แรงงานลาวเดินทางกลับและนำเชื้อติดไปด้วย
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ชักยุ่ง! ลาวพบผู้ติดเชื้อโควิด19 สายพันธุ์ ‘เดลตา พลัส’
ขณะนี้ยังไม่ทราบว่า “โควิดเดลตา พลัส” มาจากผู้ที่เดินทางกลับจากไทยหรือไม่ แต่ในไทยยังไม่พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธ์เดลตาพลัส โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ คือ โควิดเดลตา ชนิดกลายพันธุ์เดิม
สำหรับสายพันธุ์ไวรัสกลายพันธุ์ จากสายพันธุ์เดลตา มีการตรวจพบล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ส.ค.ในไทย มีชนิดกลายพันธุ์ 4 สายพันธุ์ย่อย คือ
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บอกในการแถลงว่าระหว่างวันที่ 14 ถึง 20 ส.ค.จากการสุ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 2,295 ราย เป็นสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย)จำนวน 2,132 ราย(92.90%) สายพันธุ์อัลฟา(อังกฤษ)พบจำนวน 134 ราย(5.84%)และสายพันธุ์เบตา(แอฟริกาใต้)จำนวน 29 ราย(1.26%) โดยสายพันธุ์เบตาพบเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้
นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้มีการพบสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลตา จำนวน 4 สายพันธุ์ได้แก่ AY.4, AY.6, AY.10, AY.12 มีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการตรวจพบดังนี้
สายพันธุ์ AY.4 เป็นสายพันธุ์ที่ตรวจพบเป็นจำนวน 9 ราย โดยพบมากที่สุด 4 รายจากจังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลการระบาดที่แน่ชัดของกลุ่มสายพันธุ์ AY.4 แต่ลักษณะการกระจายตัว น่าจะเป็นการระบาดจากปริมณฑล ออกไปยังจังหวัดอื่น ๆ ส่วน AY.12 เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดในกรุงเทพมหานคร ตรวจพบที่สุราษฎร์ธานี และ กทม. โดยข้อมูลทั้งหมดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานให้กับกรมควบคุมโรคและทีมสอบสวนทางระบาดเพื่อติดตามต่อไป
“ภาพรวมพบว่าสายพันธุ์เดลตา เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็วและมีการกลายพันธุ์ของเชื้ออย่างต่อเนื่อง โดยทั้ง AY.4/AY.6/AY.10/AY.12 เป็นเชื้อที่พบทั้งในแถบประเทศยุโรป และยังพบในไทยด้วย โดยเชื้อเหล่านี้ อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เดลตาในประเทศไทยเองในช่วง 2 เดือนนี้ หรือ อาจมาจากแรงงานข้ามชาติก็ได้”
ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา เชื้อกลายพันธุ์ที่เรียกว่า “เดลตา พลัส” ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์ใหม่ที่พบในอินเดีย ในเดือนเม.ย. และพบครั้งแรกในยุโรป ที่ระบุว่าเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่ “น่ากังวล”
ปัจจับัน “เดลตา พลัส” พบได้ในสหรัฐ อังกฤษ โปรตุเกส สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โปแลนด์ เนปาล รัสเซียและจีน ขณะที่เดลตาเดิม พบใน 80 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มเกิดความวิตกว่า “เดลตา พลัส” จะรุนแรงและหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งจะทำให้การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดทั่วโลกยุ่งยากขึ้นไปอีก
แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส มองว่าการกลายพันธุ์ของไวรัส เกิดขึ้นตลอดเวลาและคาดการณ์ไม่ได้ บางครั้งการกลายพันธุ์จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่าย และเชื้อกลายพันธุ์ก็มีแนวโน้มจะแทนที่เชื้อไวรัสเดิม
ดร. เจรามี คามิล จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยลุยเซียนา ระบุว่าจากการศึกษา “เดลตา พลัส” ยังมีการระบาดรวดเร็ว เหมือนเดลตาเดิม แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าอันตรายมากกว่าไวรัสเดิม ซึ่งขณะนี้รีบด่วนเกินไปจะสรุปได้เช่นนั้นว่าการกลายพันธุ์อันตรายมากขึ้น
เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านไวัสของอินเดีย ซึ่งมีการตรวจพบสายพันธุ์เดล ระบุว่าไม่ต้องวิตกว่าไวรัสกลายพันธุ์จะรุนแรงกว่าเดิม ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานเช่นนี้ แต่การกลายพันธุ์ของไวรัส จัดเป็นสานพันธุ์ที่น่ากังวลทั้งสิ้น
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
โควิดในลาวระบาดหนักทุบสถิติรายวัน ที่เวียงจันทน์หนักสุด
ผลวิจัยชี้วัคซีนโควิดประสิทธิภาพลด หลังการระบาดของโควิดเดลตา