สินเชื่อดิจิทัล

สินเชื่อดิจิทัล เดือด! เอไอเอส-ไทยพาณิชย์ จับมือรุกปล่อยกู้รายย่อย

สินเชื่อดิจิทัล ปะทุ! เมื่อมือถือรายใหญ่อย่าง เอไอเอส จับมือ ธนาคารไทยพาณิชย์ที่มีฐานลูกค้ารายย่อยค่อนข้างมาก ร่วมกันเปิดแพลตฟอร์มปล่อยสินเชื่อ ภายใต้บริษัทใหม่

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC ผู้ให้บริการมือถือที่มีฐานลูกค้ามากที่สุดในไทย หรือ เอไอเอส แจ้งว่าได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB ร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อ บริษัท เอไอเอสซีบี จำกัด (AISCB”) โดยจะมีทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท

เอไอเอสและ SCB จะถือหุ้นในสัดส่วน 50:50 มีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบธุรกิจให้บริการสินเชื่อผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Lending) เพื่อสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกมากยิ่งขึ้น ก่อนขยายสู่บริการทางการเงินอื่นๆ ต่อไป นับเป็นก้าวสำคัญในการผนึกกำลังสร้างฐานธุรกิจแห่งการเติบโตในรูปแบบใหม่ให้กับทั้งสององค์กรชั้นนำระดับประเทศ

บริษัทร่วมทุนดังกล่าวได้นำเอาจุดเด่นของพันธมิตรทั้งสอง คือ ความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ นวัตกรรมอันล้ำสมัย ตลอดจนศักยภาพในการให้บริการลูกค้าของเอไอเอส มาผสานเข้ากับความน่าเชื่อถือของแบรนด์ รวมถึงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านบริการทางการเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมและบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ผ่านช่องทางดิจิทัลที่จะสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับคนไทยได้มากยิ่งขึ้นท่ามกลางบริบทของโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

การเข้าร่วมทุนในธุรกิจให้บริการสินเชื่อดิจิทัลนี้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของเอไอเอสในการเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์โดยเป็นการต่อยอดสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทเพื่อสร้างประสบการณ์ในการเข้าถึงบริการด้านการเงินให้กับฐานลูกค้าของบริษัท อันจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ในอนาคต

เอไเอเอสระบุว่าการร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ ในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่บริษัทชั้นนำในสองอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ได้แก่ Telco และสถาบันการเงิน ร่วมทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถตอบโจทย์คนในวงกว้างโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ โดยทั้งสองฝ่ายเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบันอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์ “สินเชื่อดิจิทัล” ตั้งแต่ปลายปี 2563 โดยระบุว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความหลากหลายของข้อมูลได้เปลี่ยนโลกการเงินและก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามยังคงมีประชาชนบางกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ กลุ่มที่ไม่สามารถพิสูจน์รายได้ และกลุ่มที่ไม่มีหลักประกัน

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบของประชาชนและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในภาคการเงิน จึงสนับสนุนให้มีผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (digital personal Loan) โดยออกหนังสือเวียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เมื่อเดือนกันยายน 2563  สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับรูปแบบใหม่ที่เอื้อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถดำเนินการได้ดังนี้

1. ใช้ข้อมูลทางเลือก (alternative data) เช่น ข้อมูลการชำระเงิน การซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน e-commerce platform ในการประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้ของผู้บริโภคแทนการพิจารณาฐานะการเงินจากรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝาก

2. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเบิกจ่ายและรับชำระคืนหนี้ เช่น เบิกจ่ายและรับชำระคืนผ่านการโอนเงิน รวมถึงชำระหนี้ผ่านการตัดบัญชีโดยใช้บัญชีสถาบันการเงิน หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money)

3. เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่น อัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียม และการแสดงภาระหนี้ เพื่อสร้างความโปร่งใสและให้ผู้กู้มีข้อมูลที่ชัดเจนในการตัดสินใจ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลแก่ผู้บริโภคแต่ละรายรวมไม่เกิน 20,000 บาท และมีกำหนดระยะเวลาการชำระคืนสินเชื่อแต่ละสัญญาไม่เกิน 6 เดือน โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการกู้ยืม และกำหนดอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมกันไม่เกินร้อยละ 25 ต่อปี

สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลทางเลือกต่าง ๆ มาใช้ในการให้บริการ จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้ของผู้กู้ได้ดีขึ้น

นอกจากนี้จะทำให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ กลุ่มที่ไม่สามารถพิสูจน์รายได้ และกลุ่มที่ไม่มีหลักประกัน รวมถึงช่วยสร้าง digital footprint ในระบบการเงินให้กับประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้บริการทางการเงินอื่น ๆ ในอนาคต

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ธปท.เดินหน้าพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล เริ่มทดสอบใช้จริงกลางปีหน้า

บล.กรุงศรีดันแพลตฟอร์ม ‘หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง’ เปิดเอสเอ็มอี-สตาร์ทอัพเข้าถึงแหล่งทุน

ต้มตุ๋นผ่านออนไลน์พุ่งยุคโควิด กลวิธีภัยการเงิน 9 แบบพบบ่อย

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน