ราคาทอง กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง เมื่อเริ่มผันผวนแรงขึ้น แต่ขณะนี้อาจได้เวลา หากใครต้องการซื้อสะสม เพราะนับจากนี้ไป ทองคำกำลังเข้าสู่ “ขาลงกันยาว ๆ”
ราคาทองคำในตลาดร่วงหนัก เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะลดวงเงินการซื้อพันธบัตร หรือ คิวอี ที่อัดฉีดเงินเข้าระบบมานานเป็นปีจำนวนมหาศาล เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19
ราคาทอง ร่วงจากระดับกว่า 1,800 ดอลลาร์/ออนซ์ มาต่ำสุดที่ 1,751.4 ดอลลาร์/ออนซ์ ในช่วงสัปดาห์นี้ แม้จะไม่ใช่สถิติการล่วงครั้งใหญ่มากที่สุด แต่บรรดาเทรดเดอร์มองว่าทิศทางทองคำกำลังเข้าสู่ “ขาลง”
ปัจจัยสำคัญ มาจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ ที่จะมีการประชุมในวันที่ 21-22 ก.ย.นี้ จะประกาศแผนลดวงเงินอีดฉีดเข้าตลาดลง เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐยังมีทิศทางฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามคาดการณ์ของเฟดก่อนหน้านั้น ทำให้มีแรงเทขายทองอย่างหนัก
หากภาวะปกติ เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ราคาทองคำจะขยับขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากกำลังซื้อจากกลุ่มเครื่องประดับ โดยเฉพาะในเอเซีย เช่น อินเดียและจีน ที่มีกำลังซื้อสูงและเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่คนนิยมทองคำ
นอกจากนี้ หากเศรษฐกิจดี เงินเฟ้อย่อมขยับตาม และคนก็แห่ซื้อสินทัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น ทำให้ราคาเริ่มแพงขึ้น จนกลายเป็นความเสี่ยง ซึ่งทำให้นักลงทุนมีการปรับพอร์ตมายังสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ
แต่ครั้งนี้ เป็นสถานการณ์ไม่ปกติ เพราะเฟดดำเนินนโยบายการเงินในภาวะ “ไม่ปกติ” เพื่ออัดฉีดเงินประคองเศรษฐกิจ ทั้งอัตราดอกเบี้ยต่ำและอัดเม็ดเงินผ่านการซื้อพันธบัตรในแต่ละเดือน เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น แนวโน้มนโยบายเฟดแบบ “ผ่อนคลาย” ก็เริ่มหมดความจำเป็นลงเรื่อย ๆ จึงมีโอกาสสูงที่เฟดจะทยอยลดการผ่อนคลายทางการเงินลง
การประชุมครั้งนี้ ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะลดวงเงินตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านั้น แต่ครั้งนี้กำลังคาดการณ์ไปถึง “ขนาด”การลดวงเงินลงว่าจะมากน้อยแค่ไหน ซึ่จากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ คือ ยอดค้าปลีกที่ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์กันไว้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ขณะนี้ตลาดคาดว่าเฟดลดวงเงินคิวอีลงอย่างแน่นอน
จากการคาดการณ์ดังกล่าวนี้เอง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐขยับขึ้น และดันค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นทันที
เป็นที่รู้กันว่า “ราคทองคำ” วิ่งสวนทางกับค่าเงินดอลลาร์ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เพราะอย่าลืมว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยก็จริง แต่เป็นสินทรัพย์ไม่มีผลตอบแทนในตัวมันเอง หรือ yield ผลตอบแทนมาได้ทางเดียว คือ ส่วนต่างราคาขึ้น-ลง
แต่ค่าเงินดอลลาร์ และ พันธบัตร เป็นสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนจากดอกเบี้ย หามีทิศทางขาขึ้น ทำให้การถือครองทองคำ มีต้นทุนการเสียโอกาสสูงขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกิดแรงเทขายออกมา
ยิ่งกว่านั้น ตามที่เฟดบอกว่าจะลดวงเงินคิวอีก่อน จะปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อให้นโยบายการเงินกลับสู่ภาวะปกติ ก็ยิ่งเป็น “ข่าวร้าย” สำหรับทองคำ เพราะเป็นที่รู้ว่าทองคำไม่ชอบการ “ขึ้นดอกเบี้ย” เนื่องจากจะยิ่งเพิ่มตุ้นทุนค่าเสียโอกาสมากยิ่งขึ้น
ขณะนี้กำลังจะก้าวเข้าสู่ไตรมาส 4 และหากดูย้อนหลังการคาดการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐต่อภาะวะเศรษฐกิจก็ดูเหมือนว่าจะเป็นไปในทิศทางนั้น อาทิ เงินเฟ้อที่ปรับขึ้นแรง เป็นสถานการณ์ชั่วคราว เป็นต้น
หากก้าวสู่ปีหน้า ทุกอย่างเป็นไปในทิศทางที่เฟดคาดการณ์ไว้ เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัวเต็มที่ และถึงเวลาปรับขึ้นดอกเบี้ย นั่นจะยิ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายสำหรับทองคำ
จากเหตุผลข้างต้น จึงตอบคำถามว่าทำไมบรรดาเทรดเดอร์และนักวิเคราะห์ กำลังมองไปในทิศทางเดียวกันว่า “ทองคำ”กำลังเข้าสู่ขาลงกันยาว ๆ แต่จะไปถึงไหน ก็ยากจะตอบได้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
เจอแล้วมือตุนทองคำ จีนเผยปริมาณสำรองเพิ่ม 15 ปีติด
กบข.ก็เหนื่อย! ครึ่งปีแรกผลตอบแทนลงทุน 3.68% ขณะปี 63 อยู่ที่ 4.79%
3 กลยุทธ์การลงทุนครึ่งปีหลัง รับดอกเบี้ยขาขึ้น โควิดยังไม่หยุด