ธุรกิจโรงแรม

ธุรกิจโรงแรมโคม่า เปิดท่องเที่ยวยังช่วยได้น้อย กว่าครึ่งจ่อปิดกิจการชั่วคราว

ธุรกิจโรงแรม อาการหนัก แม้จะมีโครงการ sandbox ผ่านไปเกือบสองเดือน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ระบุแย่กว่าที่คาด ผลสำรวจกว่าครึ่งเตรียมปิดกิจการชั่วคราว หากโควิด-19 ยืดเยื้อ

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พัก (Hotel business operator Sentiment Index) ในเดือนส.ค. 2564 ผู้ประกบการที่พักยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง สะท้อนอัตราการเข้าพักที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มปรับแย่ลง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีสภาพคล่องปรับลดลงมาก ส่งผลให้มากกว่าครึ่งอาจพิจารณาปิดกิจการชั่วคราวเพื่อลดต้นทุน หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อมากกว่าที่คาด

การสำรวจครั้งนี้จากผู้ประกอบการที่พักแรม 234 แห่ง (เป็น ASQ 14 แห่ง Hospitel 5 แห่ง)ระหว่างวันที่ 13-28 ส.ค. 2564

จากการสำรวจ 48% เปิดกิจการปกติ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากโรงแรมในภูเก็ตที่เปิดรับนักท่องเที่ยว และโรงแรมในกรุงเทพฯที่เปิดรับลูกค้าพักระยะยาวเป็นสำคัญ ขณะที่ 17% ปิดกิจการชั่วคราว โดยส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้งในไตรมาส 4 ปีนี้

อัตราการเข้าพัก เดือนส.ค. 64 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 10.6% ทรงตัวจากเดือนก่อน ซึ่งหากไม่รวมกลุ่มที่รับลูกค้าตามโครงการ sandbox และลูกค้าที่เข้าพักระยะยาวเป็นหลัก ซึ่งเป็นต่างชาติที่มาทำงานในไทย อัตราการเข้าพักจะอยู่ที่ 7.5%

รายได้ โรงแรมที่เกิดกิจการอยู่ทั้งหมด 58% ระบุว่ารายได้ยังกลับมาไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโคิด-19 และ 70% ระบุว่ามีสภาพคล่องลดลงมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและ 65% ระบุว่ามีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจไม่เกิน 3 เดือน

ครึ่งหนึ่ง ระบุว่ามีสภาพคล่องเพียงพอไม่ถึง 1 เดือน โดยกลุ่มสำรวจกรจายอยู่ในทุกภูมิภาค

การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กลุ่มตัวอย่าง 72% เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และอีก 45% คาดว่าแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวจะล่าช้าออกไป

สำหรับโครงการ sanbox พบว่า โรงแรมในภูเก็ต 38% ระบุว่าแย่กว่าที่คาดไว้ แต่ 35% เห็นว่าเป็นไปตามคาดการณ์ โดยมีอัตราเข้าพักเฉลี่ยทรงตัวที่ 15%

สำหรับโรงแรมในสุราษฎร์ธานี 52% มองว่าแย่กว่าที่คาดไว้ โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำมากที่ 4%

การจ้างงาน พบว่าผู้ประกอบการโรงแรมระบุว่ามีการจ้างงาน 54% ของช่วงก่อนโควิด-19 โดยไม่นับรวมที่ปิดกิจการชั่งคราวอยู่ที่ 56%

ทั้งนี้ หากสถานการณ์ยืดเยื้อ มีผู้ประกอบการ 52% จะปิดกิจการชั่วคราว และ 9% อาจตัดสินใจปิดกิจการถาวร โดยขณะนี้ผู้ประกอบการรับสถานการณ์ด้วยการปรับลดต้นทุนนด้านต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม กลุ่มโรงแรมที่ยังดำเนินต่อไปได้ คือ กลุ่มโรงแรมที่ร่วมเป็นสถานที่กักกันภาครัฐหรือ ASQ จำนวน 14 แพ่ง พบว่ารายได้ฟื้นตัว โดย 27% ระบุว่ารายได้กลับมาเกินครึ่งแล้ว แต่กลุ่มที่เป็น Hospitel จำนวน 5 แห่ง รายได้ส่วนใหญ่กลับมาไม่ถึง 10%

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

เจาะลึกธุรกิจไทยฝ่าวิกฤตโควิด-19 ‘ใครฟื้น-ใครฟุบ-ใครจะไปไม่รอด’

ท่องเที่ยวหลังยุคโควิด-19 อย่าหวังจะกลับมาเหมือนเดิม

กางแผนเปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยว ต.ค.นี้ เปิดเพิ่ม 26 จังหวัด

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน