โตโยต้า มาช้าดีกกว่าไม่มา เมื่อโตโยต้า มอเตอร์ ประกาศเดินเครื่องผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หลังจากต้านกระแสผู้บริโภคไม่ไหว แม้จะไม่เต็มใจนัก แต่เมื่อกระแสมา ความนิยมเพิ่ม ก็จำใจต้องตามน้ำไปด้วย
โตโยต้าได้ประกาศแผนล่าสุด จะลงทุน 9 พันล้านดอลลาร์ ในอีก 10 ปีข้างหน้าเพื่อสร้างโรงงานแบตเตอรี และตั้งเป้ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าปีละ 2 ล้านคันในอีก 10 ปีข้างหน้า
โตโยต้านับเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มีปริมาณจำหน่ายมากที่สุดในโลก ได้โดดลงตามกระแสรถยนต์ไฟฟ้า แม้ว่าทางโตโยต้ามีจุดยืนมาโดยตลอดว่ารถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้เป็นทางแก้ปัญหาที่ดีในเรื่องการลดโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะว่าแบตเตอรีราคาแพงและใช้เวลาในการชาร์จไฟนาน โดยโตโยต้ามองว่าเครื่องยนต์แบบไฮบริด ไฟฟ้า-ก๊าซ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
แต่แล้ว โตโยต้าก็ต้านกระแสไม่ไหว เมื่อยอดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่หลายประเทศเริ่มออกกฎระเบียบการปล่อยก๊าซในยวดยานต่าง ๆ และยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้น
แต่โตโยต้าก็ยังไม่เปิดเผยว่าจะสร้างโรงงานแบตเอตรีมากแค่ไหน เพียงแต่บอกว่าในปี 2025 วางแผนจะเพิ่มไลน์การผลิต ซึ่งโรงงานเดียวสามารถมีไลน์การผลิตได้หลากหลาย
มาซามิชิ โอคาดะ หัวหน้าฝ่ายการผลิตของโตโยต้า บอกว่าโรงงานจะสร้างทั่วโลก เราต้องการให้เกิดการผลิตในท้องถิ่น ซึ่งเป็นหลักการของโตโยต้า
โตโยต้าบอกว่าจะเริ่มวางจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเอนกประสงค์ในปีหน้า ชื่อว่า bZ4X ซึ่งโตโยต้าตั้งเป้าหมายจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ 2 ล้านคันในปี 2030 ซึ่งรวมถึงรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี และเชื้อเพลิงไฮโดรเจน
การประกาศแผนของโตโยต้าไม่ใช่แปลกใหม่ในแวดวงรถยนต์ เพราะก่อนหน้านี้ GM และ ฟอร์ดมอเตอร์ และโพล์คสวาเกน ก็ได้ประกาศสร้างโรงงานแบตเตอรีของตัวเอง ซึ่งค่ายโฟล์คบอกว่าในปี 2030 โรงงานของตัวเองในยุโรปจะผลิตแบตเตอรีประมาณ 240 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ซึ่งทางโตโยต้าก็ประกาศแผนในช่วงเวลาเดียวกันว่าจะผลิตได้ 200 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี
อาวุธลับของโตโยต้า คือ แบตเตอรี ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำวิจัย เพราะต้องการใช้แบตเตอรีมีความปลอดภัยสูงและอายุใช้งานได้ยาวนาน แม้จะใช้งานไป 10 ปี ก็ยังมีความสามารถในการชาร์จไฟได้ระดับ 90%
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ลานจอดรถติดโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เบลเยียม
เอ็กโกกรุ๊ป ลุยลงทุนอินโนพาวเวอร์ ‘ระบบเก็บพลังงาน-ยานยนต์ไฟฟ้า’
เทรนด์เลือกที่อยู่อาศัย ยุคโควิด-19 กระแส’สุขภาพ-รักษ์โลก’ มาแรง