มาตรการลดค่าครองชีพฉุดเงินเฟ้อเดือนส.ค.ติดลบรอบ 5 เดือน

เงินเฟ้อ เดือนส.ค.ติดลบ 0.02% จากมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาล คาดทั้งปี 0.7–1.7% เตรียมปรับเป้าใหม่เดือนหน้า

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลง 0.02% จากที่ขยายตัวต่อเนื่องมา 4 เดือน

มีสาเหตุสำคัญจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพของภาครัฐในการลดค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายชนิดลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร ไก่สด ผักและผลไม้ ในขณะที่ราคาไข่ไก่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

แม้ว่าราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานจะขยายตัว แต่เป็นอัตราที่น้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นแรงกดดันให้เงินเฟ้อในเดือนนี้ปรับลดลง

สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับความต้องการและสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงโควิด-19

เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ 0.07%

สำหรับเฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2564 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้ 0.73% และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้น 0.23%

เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อในเดือนก.ย. 2564 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวในระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดมาตรการ ลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ซึ่งสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม

อีกทั้งราคาพลังงานมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย จากการเพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตโลก ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มเริ่มคลี่คลาย

อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารสดและการต่ออายุมาตรการ ลดค่าครองชีพของรัฐเป็นปัจจัยผันแปรสำคัญที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในเดือนก.ย.ได้

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคใต้และภาคกลาง ขยายตัวที่ 0.67% และ 0.21% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และกรุงเทพฯและปริมณฑล หดตัวที่ -0.13% -0.16% และ -0.40% ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า หมวดอาหารและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยของทุกภาคปรับตัวลดลง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นภาคที่มีอัตราการลดลงมากที่สุด สาเหตุสำคัญจากสินค้าในกลุ่มผักสด และข้าวสาร ที่ลดลงในอัตราที่มากกว่าภูมิภาคอื่น

สำหรับหมวดอื่น ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นในทุกภูมิภาค ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช ไข่ไก่ สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน าประปา ข้าวสารเจ้า เป็นต้น

เงินเฟ้อ

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า เงินเฟ้อ เฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ระหว่าง 0.7–1.7% (ค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ทั้งนี้จะมีการทบทวนอีกครั งในเดือนก.ย. 2564

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

บัฟเฟตต์ ใช้กลยุทธ์ลงทุนอย่างไร ต่อสู้กับเงินเฟ้อที่กำลังพุ่งทะยาน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กับทางเลือกในการออมภาคบังคับ

โควิดกระทบเศรษฐกิจ ‘หนักกว่าที่คิด’ กนง.หั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือ 0.7%

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน