โควิดสายพันธุ์มิว

โควิด-19สายพันธุ์มิวยังไม่น่าห่วง พบไม่’รุนแรง-การแพร่ระบาดเพิ่ม’

โควิดสายพันธุ์มิว ในลาตินอเมริกา ยังไม่น่ากังวล พบยังไม่รุนแรง-แพร่ระบาดสูง แม้อนามัยโลกจัดอยู่ใน “สายพันธุ์น่ากังวล”

องค์การอนามัยแพนอเมริกัน (PAHO) เฝ้าติดตามวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อโรคโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์มิว (Mu) หรือบี.1.621 (B.1.621) ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้ไวรัสสายพันธุ์มิว ที่มีการตรวจพบในโคลอมเบีย อยู่ในกลุ่ม “สายพันธุ์ที่น่ากังวล” (Variant of Concern) เมื่อวันที่ 30 ..

ไจโร เมนเดซริโก ที่ปรึกษาโรคไวรัสอุบัติใหม่ขององค์การอนามัยแพนอเมริกัน กล่าวว่าสถาบันสุขภาพแห่งชาติโคลอมเบียดำเนินการติดตามตรวจสอบเชิงกลยุทธ์ และพบเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์มิว ในเดือนม.ค. โดยแพร่ระบาดอยู่ในโคลอมเบียและหลายประเทศ

เมนเดซเผยว่าเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ใหม่ ยังไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามหรือความเสี่ยงใด เนื่องจากมีอัตราการแพร่ระบาดภายในชุมชนไม่มากนัก โดยคอสตาริกาและเอกวาดอร์รายงานการตรวจพบสายพันธุ์มิวระบาดในประเทศด้วย แต่ไม่ส่งผลกระทบสลักสำคัญในแง่ความรุนแรง การเสียชีวิต หรือแพร่ระบาดเพิ่มสูงจนเห็นได้ชัด

ด้านองค์การอนามัยโลกระบุในรายงานประจำสัปดาห์ว่าพบสายพันธุ์มิวระบาดใน 39 ประเทศ แต่กำลังลดลงในภาพรวมทั่วโลก โดยส่วนใหญ่ครองสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 0.1 ของจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19

อย่างไรก็ดี เมนเดซเผยว่าเชื้อไวรัสฯ ดังกล่าวครองสัดส่วนร้อยละ 39 ของจำนวนผู้ป่วยในโคลอมเบีย และร้อยละ 13 ในเอกวาดอร์ อีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง

การจัดให้เชื้อไวรัสฯ ชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลเป็นไปเพื่อให้มีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด มองหาหลักฐานเพิ่มเติม และใส่ใจการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมทางคลินิกหรือทางระบาดวิทยา

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ผลวิจัยชี้วัคซีนโควิดประสิทธิภาพลด หลังการระบาดของโควิดเดลตา

ยุโรปเร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ชี้ทำได้เร็วยุติระบาดโควิดเดลตาได้

ข้อค้นพบใหม่น่ากลัวเกี่ยวกับเดลตา ‘ฉีด-ไม่ฉีด’วัคซีน แพร่เชื้อได้เท่ากัน

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน