ดัชนีความสุข คนไทยในปีที่แล้ว เหลือเชื่อ! อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แม้จะเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ขณะที่ชายมากกว่าหญิง และภาคเหนือมีความสุขมากที่สุด
สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) ของคนไทย พ.ศ. 2563 โดยใช้ข้อสอบถาม 15 ข้อ ตามแบบมาตรฐานของกรมสุขภาพจิต สอบถามคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป เพื่อสำรวจตัวเองและประเมินเหตุการณ์ อาการ ความคิดเห็น และความรู้สึกของตัวเองในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 48,000 คน โดยเก็บข้อมูลไปพร้อมกับการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2563 (มกราคม-ธันวาคม 2563)
จากการสำรวจในปี 2563 พบว่า คนในประเทศไทยมีคะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ย อยู่ที่ 33.53 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสุขภาพจิตของคนท่ัวไป (27.01-34.00 คะแนน)
สรุปผลการสำรวจที่น่าสนใจ พบว่า คนไทยมีคะแนนสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยผู้ชายมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตสูงกว่าผู้หญิง แสดงให้เห็นว่าผู้ชายมีความสุขมากกว่าผู้หญิง เมื่อพิจารณาตามสถานภาพการสมรส พบว่า คนที่สมรสมีสุขภาพจิตดีที่สุด รองลงมาคือคนโสด ในขณะที่ผู้ที่มีสถานภาพสมรสที่แยกกันอยู่ มีสุขภาพจิตต่ำสุด
เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มคนสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีคะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (25-59 ปี) คะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ยต่ำสุดคือกลุ่มวัยเยาวชน (15-24 ปี)
หากพิจารณาตามเขตการปกครองรายภาค พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ มีคะแนนสุขภาพจิตสูงสุด รองลงมาคือภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ตามลำดับ ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ) มีคะแนนสุขภาพจิตต่ำที่สุด
สำหรับจังหวัดที่มี ตะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ยสูงสุด คือ มหาสารคาม และคะแนนสุขภาพจิตต่ำสุด คือ สมุทราปราการ ส่วนจังหวัดทีสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตสูงกว่ามาตรฐนมากที่สุด คือ ชัยภูมิ และต่ำสุด คิอสุโขทัย
ทั้งนี้ โดยคำจำกัดความคำว่า “สุขภาพจิต” คือสภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการทำงาน และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสารวจสุขภาพจิต (ความสุข) ของคนในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ได้สำรวจไปพร้อมกับการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนตัวอย่างในทุกจังหวัด ทั่วประเทศไทย การสำรวจได้ใช้แบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ (TMHI-15) (ที่กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาจากข้อถามฉบับสมบูรณ์) โดยให้ผู้ตอบอายุ 15 ปี ขึ้นไป ทำการสารวจตัวเอง และประเมินเหตุการณ์ อาการ ความคิดเห็น และ ความรู้สึกของตนเองในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา สำหรับนำไปใช้ในการติดตาม ประเมิน สถานการณ์ และทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอนาคต เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องนำไปกำหนดนโยบายและวางแผนในการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างตรงจุด
การสารวจนี้ เป็นครัวเรือนส่วนบุคคลในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งที่อยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล รวมครัวเรือนส่วนบุคคลท่ีอาศัยอยู่ในครัวเรือนสถาบัน เช่น หอพัก โรงพยาบาล เป็นต้น (ยกเว้นครัวเรือนทูตผู้แทนต่างประเทศและผู้อยู่อาศัยในประเทศไทยชั่วคราว) และสัมภาษณ์ตัวแทนสมาชิก 1 คน ในครัวเรือนตัวอย่าง ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 เป็นปีที่ประเทศไทยเผชิญกับการระบาดรอบแรก ซึ่งส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรงต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ส่วนในปี 2564 ก็หนักไม่แพ้กัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่าหากมีการสำรวจในปีนี้ ดัชนีความสุข ของคนไทยยังจะเหมือนเดิมหรือไม่?
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง:
‘ความเครียดส่งต่อ’ คลินิกแก้หนี้ รับไม่ไหวต้องพึ่งกรมสุขภาพจิต
ชีวิตในวิถีความปกติใหม่ “ของจริง” กำลังมาพร้อมกับไวรัสกลายพันธุ์
โควิดกระทบเศรษฐกิจ ‘หนักกว่าที่คิด’ กนง.หั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือ 0.7%