หลุมอุกกาบาต เมื่อราว 5 หมื่นปีที่แล้วในจีน นับเป็นอุเหตุการณ์ครั้งใหญ่รอบแสนปี คาดเป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 เมตร
คณะนักวิทยาศาสตร์ค้นพบหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1,850 เมตร มีความลึกสูงสุดเหนือพื้นหลุม 150 เมตร และมีความลึกรวมอยู่ที่ 579 เมตร ในอำเภออีหลาน มณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน
หลุมอุกกาบาตแห่งนี้มีรูปร่างคล้ายชาม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอยู่ในสภาพสมบูรณ์และมีขอบหลุมเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น เนื่องจากเสื่อมสภาพตามกาลเวลา
สำนักข่าวซินหัว อ้างรายงานจากวารสารทางวิชาการ “มีทีโอริติกส์ แอนด์ แพลเนทารี ไซเอนซ์” (Meteoritics and Planetary Science) เผยแพร่บทความชื่อว่า “อีหลาน เครเตอร์, จีน: หลักฐานการตกกระทบของอุกกาบาต” ซึ่งร่วมเขียนโดยคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันธรณีเคมีกว่างโจว (Guangzhou Institute of Geochemistry) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และคณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวียนนาในออสเตรีย
งานวิจัยค้นพบว่าหลุมอุกกาบาตอีหลานเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตกกระทบที่มีความแรงสูงเมื่อกว่า 49,000 ปีก่อน โดยมีดาวเคราะห์น้อยที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 เมตรพุ่งชนโลกและเกิดการระเบิดครั้งรุนแรง ส่งผลให้คลื่นกระแทก (shock wave) จากการระเบิดข้างต้น ทำลายชั้นหินแกรนิต 400 ล้านลูกบาศก์เมตรใต้พื้นดินแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและเป็นเกิดหลุมรูปชามขนาดใหญ่ขึ้น
นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่าเหตุการณ์นี้ถือเป็นการตกกระทบของอุกกาบาตครั้งใหญ่สุดของโลกในรอบเกือบ 100,000 ปี