มาตรการควบคุมโควิด

4 มาตรการควบคุมโควิด-19 รื้อใหม่ รับเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ระบาดเร็ว

มาตรการควบคุมโควิด ปรับใหม่ รับการแพร่ระบาดของโควิดกลายพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข คาดว่าจะได้ผลและทำให้ผู้ติดเชื้อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคลี่คลายภายใน 2 สัปดาห์

4 มาตรการควบคุมโรค ดังนี้

1. มาตรการ TTI (Test Trace Isolate) ปรับวิธีการค้นหาผู้ติดเชื้อมาเข้าสู่การรักษา แยกกัก และควบคุมโรค ที่เน้นปกป้องผู้สูงอายุและผู้เสี่ยงป่วยรุนแรง

2. มาตรการทางการแพทย์ ปรับระบบการรักษาและการเชื่อมต่อเมื่อพบผู้ติดเชื้อให้สอดคล้องกับความเร่งด่วนโดยเน้นที่ลดการเสียชีวิต

3. มาตรการวัคซีน ระดมฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุ ผู้ที่เสี่ยงป่วยรุนแรง และกลุ่มเสี่ยง

4. มาตรการสังคมและองค์กรเข้าสู่ New Normal

– มาตรการ Work from Home ให้ได้ร้อยละ 70

– ส่งเสริม สื่อสารให้ประชาชนเพิ่มความเข้มข้นมาตรการบุคคล

สำหรับ มาตรการควบคุมที่มีการปรับใหม่ ในครั้งนี้ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่าสาเหตุที่ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากเนื่องจากเชื้อเกิดการกลายพันธุ์

ดังนั้นจึงได้เตรียมปรับแผนบริหารจัดการเพื่อการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำให้สถานการณ์คลี่คลายลงได้ภายใน 2 สัปดาห์

การกลายพันธุ์ ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนในต่างจังหวัดก็มาจากผู้ที่เดินทางไปจากกรุงเทพฯ แต่ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่าการปรับเปลี่ยนแผนบริหารจัดการใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ประกอบด้วย 4 มาตรการ

1.ปรับมาตรการค้นหาผู้ติดเชื้อรายใหม่มาเข้าสู่การรักษา แยกกัก และควบคุมโรค โดยเน้นปกป้องผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 โรคเสี่ยง ให้ได้รับการตรวจ RT PCR ไม่จำกัดจำนวน และเชื่อมโยงให้เข้ารับการรักษาและแยกกักโรคใน รพ.ทันที เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยอาการหนักและผู้เสียชีวิต ส่วนกลุ่มเสี่ยงที่เป็นวัยหนุ่มสาวให้ไปตรวจวิธีอื่น หากพบผลบวกจึงจะมาตรวจยืนยันอีกครั้งก่อนนำเข้าสู่ระบบรักษา ขณะที่การสอบสวนและควบคุมโรค จะเน้นสอบให้ครอบคลุมเหตุการณ์สำคัญ กลุ่มก้อน และจุดเสี่ยงการระบาดใหญ่ให้ทันเวลา และควบคุมเชิงรุกเฉพาะจุดเสี่ยงการระบาดรุนแรงวงกว้าง โดยประเมินความเสี่ยง และใช้มาตรการ Bubble and Seal

2.ปรับมาตรการทางการแพทย์เกี่ยวกับระบบการรักษาและการเชื่อมต่อเมื่อพบผู้ติดเชื้อให้สอดคล้องกับความเร่งด่วน เพื่อลดการเสียชีวิต โดยมีการขยายเตียงและเปิด รพ.สนามเฉพาะผุ้สูงอายุและผู้ป่วย 7 โรคเสี่ยง ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่อาการและไม่ใช่ผู้สูงอายุ/เปราะบางให้รับการรักษาและแยกกักแบบ Home Isolation, พิจารณาให้สารสกัดฟ้าทะลายโจรกับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ และผู้ที่มีอาการน้อย และพิจารณาการให้ยา Favipiravir ที่บ้านในรายที่มีข้อบ่งชี้, ขยายและระดมทรัพยากรสำหรับผุ้ป่วยอาการรุนแรง และอาการปานกลาง ทั้งรูปแบบการปรับเตียงเขียวใน รพ.และอื่นๆ ให้มีไม่น้อยกว่าสองเท่าภายใน 2 สัปดาห์

3.ปรับมาตรการวัดซีน โดยระดมฉีดให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 โรคเสี่ยง โดยในกรุงเทพฯ ที่มีจำนวน 1.8 ล้านคนให้ได้ 70% ภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนปริมณฑลให้ดำเนินการให้เสร็จภายในเดือน ก.ค.64 และจังหวัดอื่นๆ ที่มีจำนวน 17.85 ล้านคน ให้ดำเนินการให้เสร็จภายในเดือน ส.ค.64 และใช้วัคซีนช่วยควบคุมการระบาด โดยเฉพาะในจุดเสี่ยงการระบาดในวงกว้าง กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อสูง กลุ่มที่มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อสูง

4.ปรับระดับมาตรการสังคมและองค์กรก่อนเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ โดยบังคับใช้มาตรการ Work from Home ในหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่หน่วยบริการป้องกันและควบคุมโรค และสถานประกอบการเอกชนขนาดใหญ่ให้ได้ 70% และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเพิ่มความเข้มข้นการปฏิบัติตามมาตรการดูแลสุขอนามัยส่วนตน และประยุกต์หลักการ Bubble and Seal ตัวเอง/ครอบครัว สำหรับการเดินทางไปทำงาน และลดการเดินทางออกนอกบ้าน

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง:

โควิดวันนี้ 6 ก.ค. ผู้ติดเชื้อ 5,420 ราย เสียชีวิต 57 ราย

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน