เช็ค "อาการไม่พึงประสงค์"

เช็ค”อาการไม่พึงประสงค์” พบปกติ ในวัคซีนซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า

เช็ค “อาการไม่พึงประสงค์” ที่พบได้เป็นปกติในการฉีดวัคซีน Sinovac – AstraZeneca แต่ไม่ใช่ทุกคนจะพบ มีเพียง 5.54% ส่วน Sinopharm ยังไม่พบผลข้างเคียง

ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.ชุดเล็ก) รายงาน “อาการไม่พึงประสงค์” จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.- 2 ก.ค. พบวัคซีน AstraZeneca มีผลข้างเคียงมากที่สุด ส่วนใหญ่พบเป็นไข้ ขณะที่วัคซีน ซิโนแวค พบปวดบวมบริเวณที่ฉีดมากที่สุด

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เทียบกับจำนวนการฉีดวัคซีนทั้งหมด (ระดับประเทศ) สะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. – 2 ก.ค. 64 พบ 3 อันดับแรก

-ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 24.02

-ปวดศีรษะ ร้อยละ 17.84

-ปวด/บวม/แดง/ร้อน บริเวณที่ฉีด ร้อยละ 12.82 

เช็ค "อาการไม่พึงประสงค์"

ผลข้างเคียงแยกตามชนิดวัคซีน สะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. – 2 ก.ค. 64

-Sinovac

ปวด/บวม/แดง/ร้อน บริเวณที่ฉีดมากที่สุด (ร้อยละ 0.77) รองลงมาเป็นปวดศีรษะ (ร้อยละ 0.35)

-AstraZeneca

พบไข้มากที่สุด (ร้อยละ 23.49) รองลงมาเป็นปวดศีรษะ (ร้อยละ 20.37)

เช็ค "อาการไม่พึงประสงค์"

นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวถึงการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการรับวัคซีนโควิด 19 ว่า ข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 มีการฉีดวัคซีนโควิด 19 รวม 9.1 ล้านโดส พบอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงหลังฉีดวัคซีนจำนวน 1,148 ราย คณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแล้วเสร็จ 354 ราย อยู่ระหว่างติดตามข้อมูล 794 ราย โดยพบว่า

1.เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน 67 ราย ทุกรายรักษาหายแล้ว ไม่มีผู้เสียชีวิต

2.การมีปฏิกิริยาร่างกายต่อการฉีดวัคซีน (ISRR) 210 ราย ทุกรายหายเป็นปกติ ไม่มีผู้เสียชีวิต

3.เป็นเหตุการณ์ร่วมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน 43 ราย และ

4.เหตุการณ์ที่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม 7 ราย

นายแพทย์เฉวตสรรกล่าวว่า การฉีดวัคซีนโควิดในประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะฉุกเฉิน เป็นการฉีดเพื่อป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิต ซึ่งวัคซีนที่นำมาฉีดนั้นผ่านการประเมินความปลอดภัยของวัคซีน เริ่มตั้งแต่ช่วงที่มีการวิจัยแล้ว มีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีนและผู้ที่ได้รับวัคซีนหลอก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผ่านแล้วพบว่าวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิดมีความปลอดภัยสูงมาก อันตรายจากการแพ้ถึงขั้นรุนแรงมีน้อยมาก การเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนมักเป็นเหตุร่วม

ทั้งนี้จากข้อมูลของประเทศอังกฤษพบว่ามีการฉีดวัคซีนจำนวนมาก ทำให้ผู้เสียชีวิตจากโควิดมีจำนวนต่ำ ผู้ติดเชื้อนอนโรงพยาบาลเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ซึ่งการฉีดวัคซีนร้อยละ 25 จะช่วยลดการเสียชีวิต และถ้าฉีดวัคซีนได้ร้อยละ 50 จะช่วยลดการป่วยและป่วยอาการหนัก ดังนั้นขณะนี้ ประเทศไทยจึงเปิดให้ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ลงทะเบียนหมอพร้อม on site เข้ามาฉีดวัคซีนได้ตามจุดต่างๆ ที่กำหนดให้มากขึ้น

อ่านเรื่องเที่ยวเกี่ยวข้อง:

เปรียบเทียบวัคซีนโควิด 5 ยี่ห้อ ข้อดี-ข้อด้อยและเมื่อไหร่จะมา?

ผลข้างเคียงจากฉีดวัคซีนโควิด กับอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้น

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน