สายพันธุ์เดลตา

โควิด-19 ในกทม. 70% สายพันธุ์เดลตา “มีโอกาสติดเชื้อตลอดเวลา”

หมอยงเผยผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกทม.ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลตา เตือนติดง่าย “โอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา” สายพันธุ์อัลฟา หรือ อังกฤษที่ว่าติดง่ายแล้ว สายพันธุ์นี้ยิ่งติดง่ายกว่า 1.4 เท่า

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “โควิด 19 วัคซีน อัตราส่วนการพบสายพันธุ์เดลต้า” โดยระบุว่าในกรุงเทพมหานคร ขณะนี้สายพันธุเดลตามากกว่า 70% ของผู้ติดเชื้อ

ศ.นพ.ยง ระบุว่าสายพันธุ์เดิมเริ่มแรกคือสายพันธุ์อู่ฮั่น ระบาดในระลอกแรกของประเทศไทย ต่อมาสายพันธุ์ G ติดได้ง่ายกว่าจึงพบกระจายทั่วโลก และกลับมาระบาดที่สมุทรสาครระลอกที่ 2 น่าจะมาจากพม่า

สายพันธุ์แอลฟาหรืออังกฤษ ติดได้ง่ายกว่า 1.7 เท่าสายพันธุ์ G  จึงเข้ามาระบาดและรอบที่ 3 ที่สถานบันเทิงทองหล่อ โดยเหมือนกับสายพันธุ์เขมร

สายพันธุ์เดลต้าหรืออินเดีย เริ่มพบในคนงาน ก่อสร้าง ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์แอลฟ่าอยู่ 1.4 เท่า 

สายพันธุ์เดลต้าติดได้ง่ายมาก ก็จะเกิดการระบาดเพิ่มขึ้นเป็นโรค 4 บนยอดของการระบาดระลอก 3 

ณ ขณะนี้ที่กรุงเทพฯ จากการศึกษาวิจัยของศูนย์กว่า 700 ตัวอย่าง ในเดือนที่ผ่านมา พบว่าอัตราส่วนในการพบสายพันธุ์เดลต้า สูงขึ้นเร็วมาก จนขณะนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเป็นสายพันธุ์เดลต้า ดังแสดงในรูป  

สายพันธุ์เดลต้าติดต่อได้ง่ายมาก ดังนั้นในบางครั้งจะไม่รู้เลยว่ารับเชื้อมาจากที่ใด และการระบาดจะเพิ่มสูงขึ้นอีกอย่างมาก 

การดูแลป้องกันลดการระบาด จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนในการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด ระเบียบวินัย ใส่หน้ากากอนามัยตลอด ล้างมือใช้แอลกอฮอล์เป็นนิจ กำหนดระยะห่าง ลดจำนวนการรวมคน และต้องตระหนักเสมอว่า โอกาสที่จะติดโรคเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าไม่จำเป็นอยู่บ้านจะดีที่สุด

ก่อนหน้านี้ ศ.นพ.ยง ได้กล่าวถึงโควิด-19สายพันธุ์เดลตาว่า “ทราบกันดีว่าสายพันธุ์เดลต้าหรืออินเดียระบาดได้ง่าย เดิมสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) รอบกระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ G มากจึงระบาดไปทั่วโลก สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) ก็ได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อังกฤษอีกจึงมีแนวโน้มระบาดมาแทนที่สายพันธุ์อังกฤษอย่างแน่นอน”

ตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่ทำให้ระบาดได้ง่ายคือจุดตัดของโปรตีนหนามแหลม Spike ให้ขาดจากกัน (S1 & S2) โดยอาศัย Enzyme จากตัวเรา การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งมาเป็นกรดอะมิโน Arginine (R) ที่เป็น Basic Amino Acid บริเวณจุดตัด ทำให้ Enzyme Furin ขอมนุษย์เข้าไปตัดได้ง่ายขึ้น หลังจากที่ไวรัสใช้หนามแหลมเกาะบนเซลล์ทางเดินหายใจที่จุดรับ ACE2 เมื่อเกาะติดแน่นแล้วจำเป็นจะต้องมีการตัดเพื่อให้ตัวไวรัสเข้าเซลล์ได้ง่ายขึ้น เมื่อกรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งนี้ ทำให้ Enzyme Furin เปรียบเสมือนเป็นกรรไกรตัดเพื่อปลดปล่อยให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ จึงทำให้มีการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นเพราะตำแหน่งที่ตัดถ้าเปลี่ยนกรดอะมิโนเป็น ด่าง (Base) Arginine แล้ว จะตัดได้ง่ายขึ้น ไวรัสก็จะเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายขึ้น ทำให้ติดได้ง่ายขึ้น ดังแสดงในรูป สำหรับนักเรียนวิทยาศาสตร์ที่ควรจะได้เรียนรู้ เมื่อติดง่ายก็จะระบาดได้เร็วขึ้นกว่าสายพันธุ์อังกฤษที่เกิดขึ้นในรอบที่ 3   

.ขณะนี้แนวโน้มของสายพันธุ์เดลต้าในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดและจะทำให้เกิดการระบาดง่ายขึ้น การควบคุมก็จะยากขึ้น การที่จะลดการระบาดของโรคในขณะนี้สามารถทำได้โดยระเบียบวินัยที่เคร่งครัด

ในการป้องกันตนเองอย่างที่ปฏิบัติกันมา ไม่ว่าจะใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ กำหนดระยะห่างต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ลดการเคลื่อนย้ายของแรงงานอย่างเด็ดขาด ให้วัคซีนให้มากที่สุดและเร็วที่สุดในการลดความรุนแรงของโรคและการแพร่กระจายให้ได้มากที่สุด

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง:

สายพันธุ์เดลตาติดภายใน 5-10 วินาที แค่เดินเฉียดก็ติดเชื้อ

‘เดินเฉียดก็ติดเชื้อ’ โควิดเดลตา สธ.ยันเป็นข้อมูลที่เกินความจริง

พร้อมไหม? รับมือโควิดสายพันธุ์เดลตา ไทยพบแล้ว 596 ราย

สายพันธุ์เดลตา พาโลกเข้าสู่โควิดรอบที่ 4 ไทย ‘เริ่มเอาไม่อยู่’

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน