วัคซีนโควิด

‘ตุนมากใช้ไม่ทัน’ แฉวัคซีนในประเทศพัฒนาแล้วใกล้หมดอายุ 240 ล้านโดส

วัคซีนโควิด ต้นไว้มาก ใช้ไม่ทัน แฉกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วครอบครองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ส่วนเกินหลายร้อยล้านโดส อาจหมดอายุก่อนส่งมอบให้ประเทศกำลังพัฒนาที่เผชิญปัญหาใหญ่ด้านการจัดหาวัคซีน

นิตยสารนิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) ของญี่ปุ่น รายงานอ้างบทวิเคราะห์ของแอร์ฟินิตี (Airfinity) บริษัทวิจัยสหราชอาณาจักร ระบุว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ราว 100 ล้านโดส ที่กลุ่มประเทศจี7 (G7) และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ได้สั่งซื้อหรือทำสัญญานั้นจะหมดอายุภายในสิ้นปีนี้ แม้จะพิจารณาการฉีดวัคซีนโดสกระตุ้นแล้วก็ตาม

ขณะเดียวกันวัคซีนของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วราว  240 ล้านโดส จะหมดอายุภายใน 2 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากต่อการขนส่งวัคซีนไปยังกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

ปริมาณวัคซีนคงคลังของกลุ่มประเทศจี7 และประเทศสมาชิกอียู จะสูงเกิน 1 พันล้านโดส สิ้นปี 2021 เนื่องจากปริมาณวัคซีนมีมากกว่าความต้องการ พร้อมสันนิษฐานว่าทุกประเทศจะฉีดวัคซีนโดสกระตุ้นให้ประชาชน แต่ไม่รวมการอนุมัติวัคซีนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ส่งมอบให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว มักมีอายุเก็บรักษานาน 6-7 เดือน

ญี่ปุ่นได้สั่งซื้อหรือทำข้อตกลงซื้อวัคซีน 560 ล้านโดส โดยขณะนี้มากกว่าร้อยละ 60 ของประชากรญี่ปุ่นได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว แม้เริ่มฉีดวัคซีนล่าช้ากว่ายุโรปและสหรัฐฯ แต่คาดการณ์ว่าปริมาณวัคซีนคงคลังของญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้น หลังทุกคนในประเทศที่ต้องการฉีดวัคซีนเข้ารับวัคซีนภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

ขณะที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชี้ว่าญี่ปุ่นได้แจกจ่ายวัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นาให้หน่วยงานทางการท้องถิ่น แต่ไม่ได้จดบันทึกวันหมดอายุไว้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

อนามัยโลกเลื่อนขั้นระบบดูแลวัคซีนของไทย มีประสิทธิภาพ ‘นายกฯปลื้ม’

โลกไร้ปัญหาขาดวัคซีนโควิด แต่ปัญหาอยู่ที่กระจายวัคซีน

เดินทางเครื่องบิน ต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม

10 ข่าวเด่นรอบสัปดาห์

คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ชูพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ
ลาแอฟริกา สร้างความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ไทย-เวียดนาม
เตือนไทย-เวียดนาม เสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ผ่านเส้นทางค้าหนังลาป้อนตลาดจีน
"Work Life Balance ไม่ได้มาฟรี ๆ" ธนา เธียรอัจฉริยะ มองชีวิต-การงาน
ประวัติศาสตร์ไทยในฉลองพระองค์
คีตศิลป์นครศรีฯ สืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นแดนใต้
เวิร์กช้อปสื่อ เข้าใจ "ท้องวัยรุ่น"
ศิลปะแห่งความรัก
เรารบกันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง : ช่อง one31 กับ 8 ปี ทีวีดิจิทัล
สังคมเปลี่ยน สื่อปรับ ช่อง 3 จะไปทางไหน